การตายของแหนแดง

แหนแดง บทที่ห้า การตายของแหนแดง

สาเหตุการตายของแหนแดง..มีหลายสาเหตุ เช่น
1. แดดจัดมากเกินไป
2. ขาดสารอาหารที่เหมาะสมสำหรับแหนแดง (ชอบกินปุ๋ยหมักหรือมูลสัตว์)
3. หนอนกินพืชกินจนหมด
4. ปลากินพืชกินจนหมด
5. โดนสารเคมีตาย
6. แก่จัดและหมดอายุ ฝ่อและจมน้ำ
(อาจจะมีสาเหตุอื่นๆ อีก อันนี้กล่าวถึงเฉพาะที่เกิดขึ้นจากการสังเกตุของเราเท่านั้น ^_^)

ข้อ 1-5 คือ ตายสนิทต้องหามาเลี้ยงใหม่
ข้อ 6 สปอร์ของแหนแดงยังอยู่และพร้อมจะเกิดใหม่ เมื่อถึงเวลาเหมาะสม
พฤติกรรมแหนแดงอีกอย่าง คือ ไม่ชอบอยู่ในร่มใต้หลังคา

อายุของแหนแดง.. นับจากวันที่สปอร์เริ่มเป็นฝ้าสีเขียวอ่อนบนผิวน้ำ หรือ บนพื้นดินที่ชุ่มชื้น อายุมากกว่า 80 วัน แต่ภาพรวมที่สังเกตุกลับมีอายุยาวนานกว่านั้น เนื่องจาก การเจริญเติบโตไม่เท่ากัน การเกิด ตั้งอยู่และดับไป จึง ไม่พร้อมกันทั้งหมด

สำหรับในแปลงนาของเรา ปลูกข้าวนาปรัง ณ วันนี้ก็ยังคงมีแหนแดงบางส่วนที่ตายเพราะแดด บางส่วนเริ่มทะยอยจมน้ำ และตรึงไนโตรเจน(อันนี้เราจะกล่าวในบทต่อไป) และบางส่วนยังคงสีแดงสดใสบ้าง สีแดงคล้ำบ้าง ลอยอยู่ผิวน้ำ หรือไม่ก็บนโคลนในส่วนที่น้ำไม่ท่วมขัง เพราะแปลงนาเราเป็นนาปรับใหม่ พื้นดินยังไม่เสมอกันทั้งหมด

ประโยชน์ที่เราได้จากแหนแดง แบ่งออกเป็นสองส่วน คือ
1. แหนแดงก่อนตาย แหนแดงจะคลุมพื้นผิวน้ำไม่ให้แดดส่องถึงพื้นดินในแปลงนาได้ ทำให้หญ้าไม่สามารถเกิดขึ้นได้ แต่ต้องรักษาระดับน้ำ ถ้าปล่อยให้น้ำแห้งถ้าแหนแดงหนาไม่พอหญ้าก็สามารถขึ้นได้เช่นกัน

2. แหนแดงหลังตาย ในส่วนที่ตายเพราะแดดจัดมากไป แหนแดงจะมีสีดำคล้ำ เราไม่ได้เป็นนักวิชาการที่มีเครื่องมือตรวจสอบธาตุอาหารเลยไม่แน่ใจว่า แหนแดงปลดปล่อยธาตุอาหารชนิดใดบ้าง แต่น่าจะเป็นธาตุอาหารที่มีประโยชน์ต่อต้นข้าวแน่นอน (อันนี้เริ่มมั่ว ต้องเข้าใจว่าเราเขียนตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นตรงหน้า ไม่ได้อ้างอิงจากที่มีคนเขียนไว้ในกูเกิ้ล ผิดพลาดหรือเข้าใจผิดประการใดขออภัยมา ณ ที่นี้ และ ยินดีรับฟังความคิดเห็นเพื่อปรับกระบวนทางความคิดใหม่ )

ในส่วนของแหนแดงที่ฝ่อและจมน้ำ จะจมเป็นแพอยู่ใต้ผิวน้ำ ในส่วนนี้จะมีการตรึงไนโตรเจนอย่างที่เราเข้าใจกัน ซึ่งรายละเอียดและรูปภาพในบทต่อไปเราจะกล่าวถึง

เนื่องจากน้ำในแปลงนา บางครั้งจะเป็นน้ำนิ่ง และ พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์อาศัยอยู่เป็นชุมชนหลากหลายทางสายพันธุ์ การที่แหนแดงตรึงไนโตรเจนและค่อยๆ ปลดปล่อย ทำให้น้ำมีชีวิต หรือ มีออกซิเจนอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นผลดีต่อสัตว์และพืช รวมถึงต้นข้าวด้วย

ตอนหน้าการตรึงไนโตรเจนของแหนแดง เราว่าเป็นอะไรที่มหัศจรรย์มากหลังจากที่ได้เดินสำรวจ ยืนดู นั่งดู ดีที่ยังไม่นอนดู อิอิ ติดตามกันนะคะ
ขอบคุณบทความจาก สวนบัวชมพู ณ จอมคีรี

This entry was posted in ไม่มีหมวดหมู่. Bookmark the permalink.