ประวัติการปรับปรุงพันธุ์ ข้าวพันธุ์ไรซ์เบอร์รี่

ข้าวไรซ์เบอรี่ เป็นข้าวที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์โดยการผสมเลียนแบบธรรมชาติแล้วคัดเลือก โดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ จนได้พันธุ์ข้าวที่มีความบริสุทธิ์ และมีคุณสมบัติเด่นด้านสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ดีและเข้มข้นที่สุด

ผู้ผลิตพันธุ์ รศ.ดร. อภิชาติ วรรณวิจิตร, ดร.ธีรยุทธ ตู้จินดา, ดร. สมวงษ์ ตระกูลรุ่ง, นายศิริพัฒน์ เรืองพยัคฆ์, นายจรูญศักดิ์ สุขีวงศ์

หน่วยงาน ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน จ.นครปฐม

ผู้ให้ทุนสนับสนุน สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

ประวัติการปรับปรุงพันธุ์

ข้าวพันธุ์ไรซ์เบอร์รี่ เป็นพันธุ์ข้าวที่ได้รับการคัดเลือกและพัฒนา โดยการผสมข้ามพันธุ์ระหว่าง ข้าวพันธุ์เจ้าหอมนิล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (พันธุ์พ่อ) กับ ข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 จากสถาบันวิจัยข้าว (พันธุ์แม่) โดยเริ่มผสมพันธุ์เมื่อปี พ.ศ. 2545ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว ม. เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ. นครปฐม เมื่อได้ลูกผสม F1 ปล่อยให้มีการผสมตัวเอง แล้วเก็บเมล็ด F2 มาปลูกต่อซึ่งมีจำนวนมากกว่า 10,000 ต้น ทำการคัดเลือกต้น F2 จากการสังเกตลักษณะทรงต้นที่ให้ผลผลิตดี, การติดเมล็ดดี, รูปร่างเมล็ดเรียวยาว ได้จำนวน 500 ต้น ในปีเดียวกัน จากนั้นประเมินคุณภาพเมล็ดโดยกระเทาะเมล็ดแล้วสังเกตความสม่ำเสมอ สังเกตความใส-ขุ่นของเมล็ด การแตกหักจากการสี แล้วจึงคัดเลือก F3 family ได้ 300 ครอบครัว
ปลูกครอบครัว F3 จำนวน 16 ต้นต่อครอบครัวแบบปักดำ ทำการคัดเลือกครอบครัวที่มีต้นที่ให้ผลผลิตสูง ติดเมล็ดดี ขนาดเมล็ดใหญ่ ยาวเรียว, ไม่เป็นโรคไหม้คอรวง, เปลือกเมล็ดสะอาด, คัดเลือกสายพันธุ์ที่มีเมล็ดข้าวกล้องสีม่วงเข้ม-ดำ, น้ำหนักเมล็ดต่อครอบครัวดี แล้วทำการคัดเลือกภายในครอบครัวให้ได้จำนวนประมาณ 2-5 ต้นในปี 2546 และทำเช่นนี้อีกในรุ่น F4 และ F5 ในปี 2547 จากนั้นทำการเปรียบเทียบผลผลิตในรุ่น F6 และ F7 ในปี 2548โดยเลือกครอบครัว F6 จำนวน 96 ครอบครัว ปลูกแบบปักดำจำนวน 25 ต้น/ครอบครัว ทำเป็น3 ซ้ำ เพื่อเปรียบเทียบผลผลิต ลักษณะที่แสดงออก, ปริมาณธาตุเหล็กและปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระชนิดต่างๆ แล้วทำการคัดเลือกต้นดีเด่นภายในครอบครัวแล้ว bulk ให้ครอบครัว F7 เพื่อปลูกเปรียบเทียบผลผลิตเป็นครั้งที่ 2 และวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ทำให้ค้นพบข้าวเจ้าสีม่วงเข้ม เมล็ดเรียวยาว ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ สูงและมีคุณค่าทางโภชนาการโดยรวมดีเด่น 1 สายพันธุ์ในปี พ.ศ. 2548 โดยให้ชื่อพันธุ์ว่า‘ไรซ์เบอร์รี่’

คุณสมบัติ
 ความยาวของเมล็ด  7.2
 สัดส่วนความยาว/ความกว้าง  เรียว (>3.0)
 สีของรำข้าว  ม่วงเข้ม
 % การขัดสี  50
 ผลผลิต (กก./ไร่)  700-800
หุงต้ม

 Amylose content (%)  15.6
 อุณภูมิแป้งสุก (° C)  < 70

คุณสมบัติทางโภชนาการข้าวกล้อง
   กลุ่มธาตุอาหารรองที่จำเป็น

 ธาตุเหล็ก (mg/100g)  1.5-1.8
 ความเป็นประโยชน์ของธาตุเหล็ก (ng Ferritin/mg-cell protein)  7.48
 ธาตุสังกะสี (mg/100g)  3.2
 ธาตุทองแดง (mg/100g)  0.22
    กลุ่มสารต้านอนุมลอิสระ

 Omega-3 (mg/100g)  31.68
 Beta-carotene (ug/100g)  63.3
 Water-soluble antioxidant capacity (nmol ascorbic acid eq./g)  4,755.9
 Lipid-soluble antioxidant capacity (nmol Trolox eq./g)  3,344.0
กลุ่มวิตามิน


 วิตามิน บี1 (mg/100g)  0.39
 วิตามิน บี6 (mg/100g)  0.20
 วิตามิน อี (ug/100g)  678.5
 Folic acid (mg/100g)  48.1


    กลุ่มดัชนีน้ำตาล

 ดัชนีน้ำตาล (Glycemic Index)  Intermediate (62)
 Rapidly available glucose
(RAG: G20, G120)
 11.6, 15.5

ที่มา http://www.riceplusthai.com

This entry was posted in ไม่มีหมวดหมู่. Bookmark the permalink.