ข้าว 85 สายพันธุ์ข้าวธัญญาหาร

1. สินเหล็ก

ข้าว สินเหล็ก เป็นพันธุ์ข้าวที่ได้รับการคัดเลือกและพัฒนา โดยการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างข้าวขาวดอกมะลิ 105 (พันธุ์แม่) ซึ่งเป็นของสถาบันวิจัยข้าว กับข้าวเจ้าหอมนิล (พันธุ์พ่อ) ของศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยเริ่มดำเนินการ เมื่อ พ.ศ. 2545 ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

เมื่อได้ลูกผสม F1 ปล่อยให้มีการผสมตัวเอง แล้วเก็บเมล็ด F2 มาปลูกต่อ ซึ่งมีจำนวนมากกว่า 10,000 ต้น คัดเลือกต้น F2 จากการสังเกตลักษณะต้นที่ให้ผลผลิตดี การติดเมล็ดดี รูปร่างเมล็ดเรียวยาว มีกลิ่นหอม ได้จำนวน 500 ต้น ในปีเดียวกัน จากนั้นประเมินคุณภาพเมล็ดโดยกะเทาะเมล็ด แล้วสังเกตความสม่ำเสมอ สังเกตความใส-ขุ่น ของเมล็ด การแตกหักจากการสี แล้วจึงคัดเลือก F3 family ได้ 300 ครอบครัว

ปลูกครอบครัว F3 จำนวน 16 ต้น ต่อครอบครัว แบบปักดำ คัดเลือกต้นครอบครัวที่มีต้นที่ให้ผลผลิตสูง ติดเมล็ดดี ขนาดเมล็ดใหญ่ ยาวเรียว ไม่เป็นโรคไหม้คอรวง เปลือกเมล็ดสะอาด คัดพันธุ์ที่มีเมล็ดสีขาว น้ำหนักเมล็ดต่อครอบครัวดี แล้วคัดเลือกภายในครอบครัวดี แล้วคัดเลือกภายในครอบครัวให้ได้จำนวนประมาณ 2-5 ต้น ในปี 2546 และทำเช่นนี้อีกในรุ่น F4 และ F5 ในปี 2547

จาก นั้นเปรียบเทียบผลผลิตในรุ่น F6 และ F7 ในปี 2548 โดยเลือกครอบครัว F6 จำนวน 96 ครอบครัว ปลูกแบบปักดำ จำนวน 25 ต้น ต่อครอบครัว ทำเป็น 3 ซ้ำ เพื่อเปรียบเทียบผลผลิต ลักษณะที่แสดงออก ปริมาณธาตุเหล็กและคุณค่าทางโภชนาการ แล้วคัดเลือกต้นดีเด่นภายในครอบครัวแล้ว bulk ให้ครอบครัว F7 เพื่อปลูกเปรียบเทียบผลผลิตเป็นครั้งที่ 2 และวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ทำให้ค้นพบข้าวหอม สีขาว ที่มีธาตุเหล็กสูงและคุณสมบัติโภชนาการโดยรวมดีเด่น 1 สายพันธุ์ ในปี 2548 โดยใช้ชื่อพันธุ์ว่า “สินเหล็ก”

ลักษณะประจำพันธุ์
ความสูง 148 เซนติเมตร
อายุเก็บเกี่ยว 125 วัน
ผลผลิต 600-700 กิโลกรัม ต่อไร่
เปอร์เซ็นต์ ข้าวกล้อง 76%
เปอร์เซ็นต์ ต้นข้าวหรือข้าวเต็มเมล็ด 50%
รูปร่างเมล็ด เรียวยาว
ความยาวของเมล็ด ข้าวเปลือก 11 มิลลิเมตร ข้าวกล้อง 7.6 มิลลิเมตร ข้าวขัด 7.0 มิลลิเมตร
สีของข้าวกล้อง สีน้ำตาลอ่อน
ปริมาณอะมิโลส 16.7%
อุณหภูมิแป้งสุก (GT) น้อยกว่า 70 องศาเซลเซียส
ปริมาณธาตุเหล็ก 1.5-2.0 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม
ดัชนีน้ำตาล ปานกลางในข้าวกล้อง 58 ข้าวขัด 72

ข้าว พันธุ์สินเหล็ก กำลังอยู่ในขั้นปลูกประเมินพันธุ์ ประกอบการขอจดคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ โดยกองคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร คาดว่าจะถ่ายทอดสู่เกษตรกรต่อไปในอนาคต ในทางเศรษฐกิจ ข้าวสินเหล็กเป็นที่ต้องการในตลาดโภชนาการเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีธาตุเหล็กอยู่ในปริมาณที่สูงและมีดัชนีน้ำตาลในระดับปานกลางถึง ต่ำ จึงทำให้เมล็ดข้าวสินเหล็กมีมูลค่าสูง

2. ไรซ์เบอร์รี่

ข้าว ไรซ์เบอร์รี่ เป็นข้าวพันธุ์ที่ได้รับการคัดเลือกและพัฒนา โดยการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างข้าวเจ้าหอมนิล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (พันธุ์พ่อ) กับข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 จากสถาบันวิจัยข้าว (พันธุ์แม่) โดยเริ่มผสมพันธุ์เมื่อปี พ.ศ. 2545 ณ ศูนย์วิจัยข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

เมื่อได้ ลูกผสม F1 ปล่อยให้มีการผสมตัวเอง แล้วเก็บเมล็ด F2 มาปลูกต่อ ซึ่งมีจำนวนมากกว่า 10,000 ต้น คัดเลือกต้น F2 จากการสังเกตลักษณะทรงต้นที่ให้ผลผลิตดี การติดเมล็ดดี รูปร่างเมล็ดเรียวยาว ได้จำนวน 500 ต้น ในปีเดียวกัน จากนั้นประเมินคุณภาพเมล็ดโดยกะเทาะเมล็ดแล้วสังเกตความสม่ำเสมอ สังเกตความใส-ขุ่น ของเมล็ด การแตกหักจากการสี แล้วจึงคัดเลือก F3 family ได้ 300 ครอบครัว

ปลูกครอบครัว F3 จำนวน 16 ต้น ต่อครอบครัว แบบปักดำ คัดเลือกต้นครอบครัวที่มีต้นที่ให้ผลผลิตสูง ติดเมล็ดดี ขนาดเมล็ดใหญ่ ยาวเรียว ไม่เป็นโรคไหม้คอรวง เปลือกเมล็ดสะอาด คัดพันธุ์ที่มีเมล็ดข้าวกล้องสีม่วงเข้ม-ดำ น้ำหนักเมล็ด ต่อครอบครัวดี แล้วคัดเลือกภายในครอบครัวดี แล้วคัดเลือกภายในครอบครัวให้ได้จำนวนประมาณ 2-5 ต้น ในปี 2546 และทำเช่นนี้อีกในรุ่น F4 และ F5 ในปี 2547

จาก นั้นเปรียบเทียบผลผลิตในรุ่น F6 และ F7 ในปี 2548 โดยเลือกครอบครัว F6 จำนวน 96 ครอบครัว ปลูกแบบปักดำจำนวน 25 ต้น ต่อครอบครัว ทำเป็น 3 ซ้ำ เพื่อเปรียบเทียบผลผลิต ลักษณะที่แสดงออก ปริมาณธาตุเหล็กและปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระชนิดต่างๆ แล้วคัดเลือกต้นดีเด่นภายในครอบครัวแล้ว bulk ให้ครอบครัว F7 เพื่อปลูกเปรียบเทียบผลผลิตเป็นครั้งที่ 2 และวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ทำให้ค้นพบข้าวเจ้าสีม่วงเข้ม เมล็ดเรียวยาว ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงและมีคุณค่าทางโภชนาการโดยรวมดีเด่น 1 สายพันธุ์ ในปี พ.ศ. 2548 โดยใช้ชื่อพันธุ์ว่า “ไรซ์เบอร์รี่”

ลักษณะประจำพันธุ์
ความสูง 106 เซนติเมตร
อายุเก็บเกี่ยว 130 วัน
ผลผลิต 750-850 กิโลกรัม ต่อไร่
เปอร์เซ็นต์ ข้าวกล้อง 76%
เปอร์เซ็นต์ ต้นข้าวหรือข้าวเต็มเมล็ด 50%
ความต้านทานโรค ต้านทานโรคไหม้
รูปร่างเมล็ด เรียวยาว
ความยาวของเมล็ด ข้าวเปลือก 11 มิลลิเมตร ข้าวกล้อง 7.5 มิลลิเมตร ข้าวขัด 7.0 มิลลิเมตร
ปริมาณอะมิโลส 15.6%
อุณหภูมิแป้งสุก (GT) ระดับ 7 (น้อยกว่า 70 องศาเซลเซียส)
ปริมาณธาตุเหล็กสูง 1.5-1.8 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม
ปริมาณสารเบต้าแคโรทีน 60 ไมโครกรัม ต่อ 100 กรัม
ปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระชนิดที่ละลายน้ำ 4,755 mnol ascorbic acid eq./g.
ปริมาณสารต่อต้านอนุมูลอิสระชนิดละลายในน้ำมัน 3,344 nmol Trolox eq./g.

ข้าว พันธุ์นี้กำลังอยู่ในขั้นปลูกประเมิน ประกอบการขอจดคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ คาดว่าจะถ่ายทอดสู่เกษตรกรต่อไปในอนาคต ในทางเศรษฐกิจ ข้าวไรซ์เบอร์รี่เป็นที่ต้องการในตลาดโภชนาการเป็นอย่างมาก เพราะมีสารต้านอนุมูลอิสระอยู่ในปริมาณที่สูง จึงเป็นตัวผลักดันให้เมล็ดข้าวไรซ์เบอร์รี่มีมูลค่าสูง

3. สังข์หยด

“ข้าว สังข์หยด พัทลุง” เป็นข้าวที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้ประกาศรับรอง ตั้งแต่ วันที่ 23 มิถุนายน 2549 ที่ผ่านมา ให้เป็นสินค้าบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์พันธุ์แรกของประเทศไทย (จีไอ) โดยชื่อข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุงนั้น หมายถึง ข้าวสังข์หยดที่ผลิตตามระบบการตรวจรับรองการผลิตตามระบบการจัดการคุณภาพ (GAP) และภายใต้เงื่อนไขของสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ซึ่งจะเรียกกันตามถนัดของแต่ละคน แต่ถ้าให้ถูกต้องจริงๆ ต้องเรียกว่า “ข้าวสังข์หยด เมืองพัทลุง”

เพื่อให้เห็นความแตกต่างตั้งแต่ชื่อ ตลอดถึงคุณภาพด้วย ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. 2546 สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication ย่อว่า GI) โดยมีผลทำให้ข้าวสังข์หยดได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายในสิทธิของชุมชนผู้ผลิต เพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนาคุณภาพข้าวสังข์หยดที่ผลิตในท้องถิ่น เพิ่มมูลค่าของข้าวสังข์หยด เพราะเครื่องหมาย จีไอ เป็นเสมือนเครื่องหมายทางการค้า ที่รับรองคุณภาพของข้าวสังข์หยด ส่งเสริมให้ผู้ผลิต ผู้แปรรูปในท้องถิ่น ได้รักษามาตรฐานสินค้า ส่งเสริมอุตสาหกรรมในท้องถิ่น กระจายรายได้สู่ท้องถิ่น สร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน ทั้งยังสร้างชื่อเสียงแก่ชุมชน จังหวัด ตลอดถึงรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น

เป็นข้าวต้นสูง กอตั้ง แตกกอปานกลาง ใบสีเขียว มีขนบนแผ่นใบ เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ขนาดเมล็ด 9.35 มิลลิเมตร กว้าง 2.13 มิลลิเมตร หนา 1.75 มิลลิเมตร จัดเป็นข้าวเจ้านาสวน ถิ่นกำเนิดอยู่ในจังหวัดพัทลุง

ข้าวสังข์หยด มีคุณค่าทางอาหารสูงกว่าข้าวพันธุ์อื่นๆ คือ มีกากใยอาหารสูง จึงมีประโยชน์ในการชะลอความแก่ นอกจากนี้ ยังมีโปรตีน ธาตุเหล็ก และฟอสฟอรัสสูงกว่าข้าวพันธุ์อื่นๆ ซึ่งมีประโยชน์ในการบำรุงโลหิต บำรุงร่างกายให้แข็งแรงและป้องกันโรคความจำเสื่อม และยังมีสารแอนติออกซิแดนต์ พวก oryzanol และมี Gamma Amino Butyric Acid (GABA) ช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเป็นมะเร็ง จึงนับได้ว่า ข้าวพันธุ์สังข์หยดเป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่มีคุณค่าทางอาหารสูง

คุณลักษณะ ของข้าวสารสังข์หยด เมล็ดเล็ก เรียว ท้ายงอน เยื่อหุ้มเมล็ดจะมีสีแดงถึงแดงเข้ม เมื่อหุงสุกแล้วเมล็ดข้าวจะนุ่ม และจับตัวกันคล้ายข้าวเหนียว วิธีการหุง ให้ซาวข้าวเบาๆ โดยใช้เวลาให้น้อยที่สุดเพียงครั้งเดียว เพื่อไม่ให้สูญเสียคุณค่าของข้าว เติมน้ำให้ท่วมข้าว สูง 1 ข้อนิ้ว เมื่อข้าวสุกทิ้งไว้ให้ข้าวระอุ ประมาณ 5-10 นาที หากต้องการให้ข้าวแข็งหรือนุ่ม สามารถลดหรือเพิ่มน้ำได้ตามความชอบ

คุณค่าทางโภชนาการของข้าวสังข์หยด ต่อน้ำหนัก 100 กรัม

– พลังงาน 364.2 กิโลแคลอรี

– โปรตีน 73 กรัม

– คาร์โบไฮเดรต 73.1 กรัม

– เส้นใย 4.81 กรัม

– แคลเซียม 13 มิลลิกรัม

– ฟอสฟอรัส 317 มิลลิกรัม

– ธาตุเหล็ก 1.4 มิลลิกรัม

– วิตามิน บี 1 0.32 มิลลิกรัม

– วิตามิน บี 2 0.01 มิลลิกรัม

– ไนอะซิน 6.4 มิลลิกรัม

4. เฉี้ยง

ข้าว เฉี้ยง เป็นพันธุ์หนึ่งที่มีความสามารถในการปรับตัวให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมได้ดี และปลูกได้ในหลายท้องที่ทุกจังหวัดในภาคใต้ อายุในการเก็บเกี่ยวปานกลาง ปลูกได้ในพื้นที่ที่มีชลประทาน และที่อาศัยน้ำฝน”

ลักษณะประจำพันธุ์ เป็นข้าวเจ้านาสวน มีส่วนสูงประมาณ 150 เซนติเมตร ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยวประมาณเดือนมกราคม มีใบสีเขียว ใบธงแผ่เป็นแนวนอน คอรวงยาว รวงยาวปานกลาง ระแง้ค่อนข้างถี่ เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง โดยมีระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 1 สัปดาห์ ให้ผลผลิตประมาณ 470 กิโลกรัม ต่อไร่ ส่วนเมล็ดข้าวกล้อง กว้างxยาวxหนา = 2.1×6.7×1.6 มิลลิเมตร มีท้องไข่ปานกลาง ปริมาณอะมิโลส 27 เปอร์เซ็นต์

ลักษณะเด่นของข้าว พันธุ์เฉี้ยงนั้น มีอายุเบา โดยจะให้ผลผลิตค่อนข้างสูงและสม่ำเสมอ อีกทั้งยังสามารถปรับตัวได้ดีทั้งในพื้นที่ที่เป็นนาดอนและนาลุ่ม มีความเหมาะสมกับพื้นที่ทุกจังหวัดในภาคใต้ทั้งที่เป็นน้ำชลประทานและน้ำฝน มีการปลูกกันมากในจังหวัดพัทลุง และนครศรีธรรมราช

คุณภาพการสีดีและ คุณภาพการหุงต้มดี ทั้งข้าวเก่าและข้าวใหม่ ข้าวใหม่สามารถสีบริโภคได้ทันที สำหรับคุณภาพข้าวสุกแล้ว ร่วนแข็ง และหอม แต่สิ่งสำคัญมีข้อควรระวังคือ ไม่ต้านทานต่อโรคไหม้ และค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคขอบใบแห้ง

5. ลืมผัว

ข้าว ลืมผัว เป็นข้าวไร่ที่เป็นข้าวเหนียวนาปีของชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง บ้านรวมไทยพัฒนาที่ 3 ตำบลรวมไทยพัฒนา อำเภอพบพระ จังหวัดตาก สูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 650 เมตร

ข้าวลืมผัว มีต้นสูงประมาณ 137 เซนติเมตร ออกดอกประมาณ วันที่ 15 กันยายน จำนวนเมล็ด ต่อรวง เฉลี่ย 130 เมล็ด เมล็ดค่อนข้างอ้วน น้ำหนักข้าวเปลือก 1,000 เมล็ด เฉลี่ย 37.9 กรัม

สถิติ สูงสุดเมื่อปลูกในสภาพไร่และดินฟ้าอากาศเหมาะสม ได้ 490 กิโลกรัม ต่อไร่ เมื่อนำมาปลูกในพื้นราบ ผลผลิตที่ได้ 200-350 กิโลกรัม ต่อไร่ ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคและแมลงศัตรูข้าว

ข้าวลืมผัว มีสีเปลือกหุ้มเมล็ดเปลี่ยนไปตามระยะการเจริญเติบโตของเมล็ด เยื่อหุ้มเมล็ดเป็นสีม่วงดำ ที่เรียกว่า ข้าวเหนียวดำ หรือข้าวก่ำ เป็นข้าวเหนียวที่มีกลิ่นหอม รสชาติอร่อย เมื่อเคี้ยวจะรู้สึกมันและนุ่มแบบหนุบๆ

การบริโภคทำได้ทั้งแบบข้าว เหนียวนึ่ง รับประทานกับอาหาร ผสมข้าวต้มทำให้มีสีม่วงอ่อนสวยงาม ทำเป็นขนมแบบข้าวเหนียวเปียก ทำเป็นชาข้าวคั่วแบบเพิร์ล บาร์เลย์ หรือเครื่องดื่มทั้งแบบมีแอลกอฮอล์หรือปราศจากแอลกอฮอล์ จะมีสีคล้ายทับทิมสวยงาม

คุณค่าทางโภชนาการที่เด่นเป็นพิเศษ เมื่อวิเคราะห์ทันทีหลังเก็บเกี่ยวฤดูนา ปี 2552 พบว่า มีสารต้านอนุมูลอิสระ (แอนติออกซิแดนต์) โดยรวม ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง ในปริมาณสูงถึง 833.77 มิลลิกรัม กรดแอสคอร์บิก ต่อ 100 กรัม

มีวิตามินอี (อัลฟา-โทโคฟีรอล) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระและช่วยลดคอเลสเตอรอล ปริมาณ 16.83 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัม

มีแกมมา-โอไรซานอล ที่ช่วยลดคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ตลอดจนการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ปริมาณ 508.09 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัม

มีกรดไขมัน ที่ช่วยบำรุงสมอง ป้องกันภาวะเสื่อมของสมองและช่วยความจำ ได้แก่ โอเมก้า-3 อยู่ 33.94 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม

มีโอเมก้า-6 ที่บรรเทาอาการขาดภาวะเอสโตรเจนของวัยทองและช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง สูงถึง 1,160.08 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม

มี โอเมก้า-9 ซึ่งช่วยลดคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ทำให้เส้นเลือดไม่อุดตัน ไม่เป็นโรคหัวใจ โรคพาร์กินสัน และช่วยลดความอ้วนสูงถึง 1,146.41 มิลลิกรัม ต่อ 100 กิโลกรัม

มีแอนโทไซยานิน 46.56 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม โปรตีน 10.63 เปอร์เซ็นต์ ธาตุเหล็ก 84.18 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัม ส่วนแคลเซียม สังกะสี และแมงกานีส มีในปริมาณ 169.75, 23.60 และ 35.38 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัม ตามลำดับ เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลโดย บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด สาขาเชียงใหม่, สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี

6. ปิ่นเกษตร

ข้าวปิ่น เกษตร เป็นข้าวที่ได้รับการคัดเลือกและพัฒนามาจากการผสมระหว่างขาวดอกมะลิ 105 กับข้าวไม่ไวต่อช่วงแสงที่ทนแล้ง (CT9993) เมื่อได้ F1 แล้วปล่อยให้มีการผสมตัวเอง จากนั้นปลูก F1 แบบต้นเดียว และปลูก F3-F7 แบบ Pedigree selection จนสามารถคัดเลือกข้าวหอมสีขาวที่ไม่ไวต่อช่วงแสง มีกลิ่นหอม นุ่มเหนียว ข้าวกล้องมีความนุ่มนวล มีเมล็ดยาวและใสมาก โดยใช้ชื่อว่า “ปิ่นเกษตร”

ข้าวพันธุ์ปิ่นเกษตร ได้รับรางวัลชนะเลิศ อันดับ 3 จากการประกวดข้าวโลก (2nd World Rice Competition) ในปี พ.ศ. 2547

ลักษณะประจำพันธุ์

ความสูง 150 เซนติเมตร

อายุเก็บเกี่ยว 138 วัน

ผลผลิต 80-700 กิโลกรัม ต่อไร่

เปอร์เซ็นต์ ข้าวกล้อง 76%

เปอร์เซ็นต์ ต้นข้าวหรือข้าวเต็มเมล็ด 50%

ความยาวของเมล็ด ข้าวเปลือก 11 มิลลิเมตร ข้าวกล้อง 8.2 มิลลิเมตร ข้าวขัด 7.6 มิลลิเมตร

ปริมาณอะมิโลส 16%

อุณหภูมิแป้งสุก (GT) ระดับ 3

ปริมาณธาตุเหล็ก 1.1 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม

ธาตุ เหล็กในเมล็ดข้าวพันธุ์นี้มีความเป็นประโยชน์สูงมาก ทั้งในระดับเซลล์ทดสอบและในร่างกายมนุษย์ ข้าวปิ่นเกษตรได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับที่ 3 จากการประกวดข้าวโลก จึงเป็นที่ยอมรับของเกษตรกรโดยทั่วไป ทั้งคุณภาพและปริมาณผลผลิต ในขณะนี้ข้าวปิ่นเกษตรกำลังส่งเสริมและทดลองปลูกในหลายพื้นที่ของประเทศไทย เช่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สุพรรณบุรี และนครปฐม

7. กข 45

ข้าว เจ้าพันธุ์ กข 45 ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างข้าวสายพันธุ์ PCRBR83012-267-5 (ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างข้าวพันธุ์หอมนายพล กับ IR46) กับพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ที่ศูนย์วิจัยข้าวปราจีนบุรี เมื่อ ปี 2532

กข 45 เป็นข้าวเจ้าน้ำลึก ไวต่อช่วงแสง จะออกดอกประมาณ วันที่ 25 ตุลาคม-2 พฤศจิกายน ควรปลูกในพื้นที่ที่มีระดับน้ำไม่เกิน 100 เซนติเมตร มีความสามารถยืดปล้องได้ดีที่ระดับน้ำ 90 เซนติเมตร

ลำต้นสูงประมาณ 170 เซนติเมตร ทรงกอตั้ง ต้นแข็งปานกลาง ใบสีเขียว ใบธงตั้งตรง รวงยาว 27.7 เซนติเมตร เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ยาว 10.2 มิลลิเมตร กว้าง 2.73 มิลลิเมตร และหนา 2.09 มิลลิเมตร เมล็ดข้าวกล้องรูปร่างเรียว ยาว 7.44 มิลลิเมตร กว้าง 2.33 มิลลิเมตร และหนา 1.83 มิลลิเมตร

คุณภาพการสี ดี เมล็ดข้าวขาวใส มีท้องไข่น้อย สีเป็นข้าว 100% ได้ปริมาณอะมิโลสต่ำ 16.35 เปอร์เซ็นต์ อุณหภูมิแป้งสุกต่ำ ความคงตัวของแป้งสุกอ่อน 80 มิลลิเมตร อัตราการยืดตัวของข้าวสุก 1.67 เท่า ข้าวเมื่อหุงต้มด้วยอัตราส่วน ข้าวต่อน้ำ เป็น 1 : 1.7 เท่า (โดยน้ำหนัก) นุ่มเหนียว และมีกลิ่นหอม ระยะพักตัวของเมล็ดพันธุ์ประมาณ 9 สัปดาห์

8. เหนียวสันป่าตอง

ข้าว เหนียวสันป่าตอง เกิดจากการกลายพันธุ์ของพันธุ์ข้าวเจ้าเหลืองใหญ่ 10 เมื่อประมาณ ปี 2498 สถานีทดลองสันป่าตองได้พบว่า พันธุ์ข้าวเจ้าเหลืองใหญ่ที่เกษตรกรปลูกอยู่นั้น มีลักษณะของข้าวเหนียวปะปนอยู่ จึงได้คัดแยกเมล็ดพันธุ์ข้าวเหนียวออกจากพันธุ์ข้าวเจ้าเดิม แล้วนำไปปลูกศึกษาพันธุ์แบบรวงต่อแถว ใช้เวลานาน 7 ปี

ข้าวเหนียวที่ ศึกษานั้นมีลักษณะที่ดีหลายประการ สายพันธุ์คงที่ ไม่กลายพันธุ์ เป็นข้าวเหนียวไวต่อช่วงแสง ให้ผลผลิตสูง เฉลี่ยประมาณ 520 กิโลกรัม ต่อไร่ ข้าวเปลือก 1,000 เมล็ด น้ำหนักประมาณ 29.6 กรัม ข้าวนึ่งอ่อนนุ่ม ต้านทานต่อโรคใบจุดสีน้ำตาล ทนต่อสภาพดินเค็ม ด้วยคุณสมบัติที่ดีหลายประการนี้เอง คณะกรรมการข้าวจึงได้พิจารณามีมติให้เป็นข้าวพันธุ์ส่งเสริมและขยายพันธุ์ ได้ เมื่อ วันที่ 6 พฤษภาคม 2505 และตั้งชื่อว่า “ข้าวเหนียวสันป่าตอง”

ข้าว เหนียวสันป่าตอง เป็นข้าวที่มีลำต้นสูงประมาณ 150 เซนติเมตร ทรงกอแผ่ ปล้องสีเหลืองอ่อน กาบใบและใบสีเขียว มีขนบนใบ ใบแก่ช้าปานกลาง มุมของยอดแผ่นใบตก ข้อต่อระหว่างใบและกาบใบสีเขียวอ่อน ลิ้นใบมีลักษณะแหลมสีขาว หูใบสีเขียวอ่อน ปลายยอดดอกและกลีบรองดอกสีฟาง ยอดเกสรตัวเมียสีขาว ใบธงหักลง รวงยาวและแน่นปานกลาง ระแง้ค่อนข้างถี่ คอรวงยาว ก้านรวงอ่อน เมล็ดข้าวเปลือกสีน้ำตาล ยอดเมล็ดสีฟาง มีขนที่เปลือกเมล็ด ข้าวกล้องรูปร่างยาวเรียว ยาว 7.2 มิลลิเมตร กว้าง 2.3 มิลลิเมตร หนา 1.8 มิลลิเมตร ข้าวสุกอ่อนนุ่ม หอม ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 5 สัปดาห์

9. น้ำรู

ข้าวน้ำรู ได้จากการรวบรวมสายพันธุ์ข้าวจากชาวไทยภูเขาเผ่าลีซอ ที่บ้านน้ำรู ดอยสามหมื่น ตำบลเมืองคอง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ โดย คุณวิฑูรย์ ขันธิกุล ได้ทำการปลูกศึกษาเปรียบเทียบผลผลิตที่สถานีทดลองข้าวไร่และธัญพืชเมืองหนาว อำเภอสะเมิง และสถานีทดลองเกษตรที่สูงในภาคเหนือ คณะกรรมการวิจัยและพัฒนา กรมวิชาการเกษตร ได้รับรองสายพันธุ์ เมื่อ วันที่ 20 กรกฎาคม 2530

ข้าว น้ำรูเป็นข้าวไร่ ข้าวเจ้า ลำต้นสูง 141 เซนติเมตร ไวต่อช่วงแสงอย่างอ่อน อายุการเก็บเกี่ยวเมื่อปลูกในระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,100-1,250 เมตร จะเก็บเกี่ยวได้ประมาณกลางเดือนตุลาคม หากปลูกในพื้นที่สูงกว่านี้ การออกดอกจะช้าลง แต่ถ้าพื้นที่ต่ำกว่านี้จะออกดอกเร็วขึ้น สภาพพื้นที่ที่แนะนำให้ปลูกได้ดีและเหมาะสมคือ 1,000-1,400 เมตร จากระดับน้ำทะเล

ลักษณะประจำพันธุ์ข้าวน้ำรู คือ ลำต้นตรงและแข็ง ไม่ล้มง่าย แตกกอดี ทรงต้นค่อนข้างแน่น ใบยาว แผ่นใบกว้างตรง มีขนเล็กน้อย กาบใบสีเขียว ระแง้ถี่ คอรวงยาว เมล็ดร่วงปานกลาง ส่วนใหญ่ไม่มีหาง เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 1 สัปดาห์ คุณภาพข้าวสุก ร่วน นุ่ม ผลผลิตประมาณ 247 กิโลกรัม ต่อไร่ สามารถปรับตัวได้ดีในพื้นที่อากาศหนาวเย็นและพื้นที่สูงมากๆ ต้านทานโรคเมล็ดด่างในธรรมชาติ ค่อนข้างต้านทานโรคไหม้ ข้อควรระวังคือ ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง ใบสีส้ม โรคใบหงิก โรคเขียวเตี้ย โรคหูด ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและโรคเน่าคอรวง

10. เล็บนก

ข้าว เล็บนก เป็นข้าวที่ได้จากการรวบรวมพันธุ์ 307 พันธุ์ จาก 104 อำเภอ ใน 14 จังหวัดภาคใต้ ในปี 2527 โดยพันธุ์เล็บนกที่เก็บมาจากตำบลชะรัด อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง ข้าวพันธุ์เล็บนกมีผลผลิตเฉลี่ย 476 กิโลกรัม ต่อไร่ ราคาที่โรงสีท้องถิ่นรับซื้อกัน อยู่ที่ระหว่าง 9,500-10,000 บาท

ข้าวเล็บนก เป็นข้าวที่มีคุณภาพการหุงต้มเป็นที่นิยมของผู้บริโภค เป็นพันธุ์ข้าวที่ผลิตเป็นการภายในท้องถิ่นภาคใต้

ลักษณะ ประจำพันธุ์ของข้าวพันธุ์เล็บนก เป็นข้าวเจ้า ประเภทไวต่อช่วงแสง มีอายุการเก็บเกี่ยวในเดือนกุมภาพันธ์ รวงยาวจับกันแน่น ระแง้ถี่ คอรวงยาว และความสูงประมาณ 170 เซนติเมตร ข้าวพันธุ์เล็บนกให้ผลผลิตค่อนข้างสูง เมื่อปลูกในสภาพนาเป็นลุ่มน้ำที่แห้งช้า ปรับตัวได้ดีในสภาพแวดล้อมของภาคใต้ตอนกลาง บริเวณพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และพัทลุง

11. เข็มเงิน

เข็ม เงิน เป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองของอำเภอควนโดน จังหวัดสตูล จะหารับประทานในพื้นที่อื่นได้ยาก ชาวบ้านจะอนุรักษ์ปลูกไว้ในรูปแบบของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรผลิตข้าวซ้อมมือ ชุมชนสะพานโยง อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล

คุณลักษณะเด่นของข้าวพันธุ์ เข็มเงิน คือ เมล็ดเล็ก รสชาติดี หุงแล้วนุ่ม หอม อร่อย ไม่แพ้ข้าวหอมพันธุ์อื่นๆ ให้ผลผลิตต่อไร่น้อย เพียงแค่ 60 ถัง ต่อไร่ เท่านั้น

ปัจจุบัน ข้าวพันธุ์เข็มเงิน ปลูกได้เพียงปีละ 1 ครั้ง เท่านั้น เนื่องจากมีปริมาณน้ำไม่เพียงพอ เมื่อเก็บเกี่ยวแล้วจะนำมาแปรรูปเป็นข้าวซ้อมมือ และข้าวกล้อง

12. ปะกาอำปึล (ดอกมะขาม)

ข้าวหอม ทนแล้งเป็นที่ 1

ปะ กาอำปึล เป็นข้าวพันธุ์หนึ่งที่น่าสนใจไม่น้อย ถิ่นกำเนิดของข้าวพันธุ์นี้ อยู่ตะเข็บชายแดนไทย-กัมพูชา ทางฝั่งไทยปลูกกันแถบจังหวัดสุรินทร์ ส่วนกัมพูชาคือจังหวัดอุดรมีชัย

ข้าวปะกาอำปึล เป็นข้าวเจ้า ต้นสูงกว่าข้าวขาวดอกมะลิ 105 มีจุดเด่นอยู่ที่ทนแล้ง ผลผลิตอาจจะน้อยกว่าข้าวหอมมะลิ เหมาะปลูกตามหัวไร่ปลายนา น้ำขังได้นิดหน่อย ไม่ชอบน้ำขังมาก เมื่อสุกแก่ เปลือกของข้าวสีเหลืองทองเหมือนดอกมะขาม เมล็ดยาว เมื่อขัดขาวจะสีขาวเหมือนข้าวทั่วไป หากสีเป็นข้าวกล้องเมล็ดสีน้ำตาลออกเขียว ทนทานต่อโรคแมลง เท่าที่ถามคนรักษาพันธุ์ไว้ เมื่อปลูกไม่ต้องใส่ปุ๋ย ไม่ต้องใช้สารกำจัดศัตรูข้าว ปลูกทิ้งรอเก็บเกี่ยว อาจจะกำจัดวัชพืชให้บ้าง

คุณภาพ การหุงต้ม เป็นข้าวที่นุ่ม เมื่อเก็บเกี่ยวและสีใหม่ๆ มาหุง มีความหอมไม่น้อยไปกว่าข้าวขาวดอกมะลิ 105 เมื่อหุงรับประทานแล้วเหลือ อยู่ได้นาน ไม่บูดง่าย เปรียบเทียบกับข้าวที่นิยมปลูกกัน ข้าวพันธุ์นี้น่าสนใจ เพราะปุ๋ยและสารเคมีไม่ต้องให้ ปลูกนาโคก ขาดน้ำก็ได้เกี่ยว ขอให้น้ำค้างตกถึงใบก็ได้เกี่ยวข้าวยาไส้แล้ว

13. หอมนิล

ข้าวเป็นยา

จัด เป็นข้าวนาสวน ไม่ไวต่อช่วงแสง ปลูกได้ตลอดทั้งปี การแตกกอดี ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง ต้นสูง 75 เซนติเมตร ใบและลำต้นสีเขียวอมม่วง เมล็ดข้าวกล้องยาวประมาณ 6.5 มิลลิเมตร มีสีม่วงดำ เปลือกหุ้มเมล็ดข้าวสีม่วงเข้ม อายุการเก็บเกี่ยว 95-100 วัน ผลผลิตเฉลี่ย 400-700 กิโลกรัม ต่อไร่ ต้านทานต่อโรคไหม้

ข้าวเจ้าหอมนิล เป็นข้าวที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยมีโปรตีนอยู่ในช่วงประมาณ 10-12.5% มีปริมาณแป้งอะมิโลสประมาณ 12-13% มีปริมาณสาร 2-acetyl-1-pyrroline ปานกลาง ร่วมกับสารหอมระเหยจำเพาะ พวก Cyclohexanone ในปริมาณมาก มีแคลเซียม 4.2 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม ปริมาณธาตุเหล็กแปรปรวนอยู่ระหว่าง 2.25-3.25 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม และธาตุสังกะสี ประมาณ 2.9 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม

ข้าวเจ้าหอมนิล มีปริมาณสาร antioxidation สูงประมาณ 293 ไมโครโมล ต่อกรัม ในส่วนของเยื่อหุ้มเมล็ดที่เป็นสีม่วงเข้มประกอบไปด้วยสาร anthocyanin, proanthocyanidin, bioflavonoids และวิตามินอี ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และสีผสมอาหารตามธรรมชาติ

ในส่วนของรำและจมูกข้าว มีวิตามินอี วิตามินบี และกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง ในส่วนของรำมีน้ำมันรำข้าว 18% เป็นองค์ประกอบ ซึ่ง 80% เป็นชนิด C18 : 1 และ C18 : 2 เหมือนกับน้ำมันที่ได้จากถั่วเหลืองและข้าวโพด และพบว่ามีสาร โอเมก้า-3 ประมาณ 1-2% รำของข้าวเจ้าหอมนิลมีปริมาณเส้นใย digestible fiber สูงถึง 10% จากข้อมูลทางโภชนาการนับได้ว่าข้าวเจ้าหอมนิลเป็นข้าวที่มีศักยภาพในการนำมา แปรรูปทางอุตสาหกรรมอาหารสูง เช่น การผลิตผลิตภัณฑ์อาหารจากแป้งข้าวเจ้าหอมนิล รวมทั้งขนมขบเคี้ยวต่างๆ

ข้าว เจ้าหอมนิล มีเมล็ดสีม่วงดำ เมื่อวิเคราะห์ปริมาณสีของเมล็ด สีม่วงดำประกอบไปด้วย สีม่วงเข้ม (cyanidin) สีชมพูอ่อน (peonidin) และสีน้ำตาล (procyanidin) ผสมกัน ซึ่งสีที่เห็นนั่นเป็นสารประกอบกลุ่ม flavonoid ที่เรียกว่า สารแอนโทไซยานิน (anthocyanin) ที่ประกอบไปด้วยสาร cyanidin กับ สาร peonidin สารโปรแอนโทไซยานิดิน (proanthocyanidin) ประกอบด้วยสาร procyanidin ซึ่งสารดังกล่าวทั้งหมดนี้เป็นสาร antioxidant ที่ทำหน้าที่จับกับอนุมูลอิสระแล้วช่วยทำให้กลไกการทำงานของร่างกายมี ประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าปกติ

สารแอนโทไซยานิน มีรายงานวิจัยพบว่า สามารถช่วยลดการอักเสบของเนื้อเยื่อ ช่วยลดไขมันอุดตันในเส้นเลือดที่หัวใจและสมอง บรรเทาโรคเบาหวาน ช่วยบำรุงสายตาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็นเวลามองตอนกลางคืน สาร cyanidin มีประสิทธิภาพในการ antioxidation ได้ดีกว่าวิตามินอี หลายเท่า และยังยับยั้งการเจริญเติบโตของ epidermal growth factor receptor ในเซลล์มะเร็ง สารโปรแอนโทไซยานิดิน หรือเรียกว่า สาร condensed tannins มีรายงานวิจัยพบว่า สารโปรแอนโทไซยานิดิน ทำการ antioxidation ได้ดีกว่าวิตามินซี วิตามินอี และเบต้าแคโรทีน (beta-carotene) สารโปรแอนโทไซยานิดิน ยังไปจับกับอนุภาคของกัมมันตภาพรังสีทำให้เซลล์ในร่างกายทำงานได้อย่างปกติ และช่วยลดไขมันอุดตันในเส้นเลือดป้องกันโรคหัวใจ และโรคความดันโลหิตสูง ยังยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านม ปอด กระเพาะอาหาร และเม็ดเลือดขาว

14. หลวงประทาน

เป็นข้าวนาสวน พื้นที่ที่นิยมปลูกจะอยู่บริเวณลุ่มภาคกลาง ความสูงประมาณ 160 เซนติเมตร ลำต้นแข็งปานกลาง ทรงกอตั้ง ใบธงทำมุมเอนปานกลาง รวงแน่นปานกลาง คอรวงยาว ก้านรวงอ่อน แตกระแง้ปานกลาง เมล็ดข้าวเปลือกสีน้ำตาล ติดเมล็ดมากกว่า 90% เมล็ดร่วงง่าย การนวดง่าย

15. ปิ่นแก้ว

ข้าวชนะที่ 1 ของโลก ปี 2476

ข้าว ปิ่นแก้ว เป็นข้าวพันธุ์พื้นเมือง ที่ได้จากการประกวดพันธุ์ข้าว ของนางจวน (ไม่มีการบันทึกนามสกุล) อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี จากนั้นมีการนำไปคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์โดยพระยาโภชากรและทีมงานนาทดลอง คลองหก รังสิต ปัจจุบันคือ ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี กรมการข้าว

ไทย ได้ส่งข้าวปิ่นแก้วไปประกวดที่เมืองเรจินา ประเทศแคนาดา เมื่อ วันที่ 24 กรกฎาคม 2476 ปรากฏว่าได้รางวัลที่ 1 นอกจากนี้ สายพันธุ์อื่นๆ ยังได้ที่ 2 และ 3 รวมแล้ว 11 รางวัลด้วยกัน ซึ่งการประกวดครั้งนั้นมีทั้งหมด 20 รางวัล

ข้าวปิ่นแก้ว เป็นข้าวที่ปลูกในระดับน้ำลึกได้ดี ต้นสูง 200 เซนติเมตร หรืออาจสูงกว่านี้ ตามระดับน้ำ เป็นข้าวนาสวน ไวต่อช่วงแสง ทรงกอแผ่เป็นแนวนอน คอรวงยาว

ข้าวเปลือก ยาว 10.82 มิลลิเมตร กว้าง 2.35 มิลลิเมตร หนา 2.12 มิลลิเมตร

ข้าวกล้อง ยาว 8.39 มิลลิเมตร กว้าง 2.22 มิลลิเมตร หนา 1 มิลลิเมตร

คุณภาพการหุงต้มดี

16. ขาวห้าร้อย

ลักษณะ ประจำพันธุ์ เป็นข้าวเจ้า ไวต่อช่วงแสง ต้นสูงประมาณ 140 เซนติเมตร วันออกดอก ประมาณ วันที่ 23 พฤศจิกายน ทรงกอตั้ง แผ่นใบสีเขียว มีขนบ้าง ปล้องสีเหลืองอ่อน คอรวงสั้น รวงแน่นปานกลาง ยอดเกสรตัวเมียสีขาว ยอดดอกสีเขียวอ่อน ลำต้นค่อนข้างแข็ง จำนวนเมล็ดข้าวเปลือก 100 เมล็ด หนัก 2.60 กรัม

คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและเคมี

– เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ขนสั้น

– เมล็ดข้าวเปลือก ยาวxกว้างxหนา = 9.92×2.50×2.40 มิลลิเมตร

– เมล็ดข้าวกล้อง ยาวxกว้างxหนา = 7.79×2.43×2.16 มิลลิเมตร

– มีท้องไข่น้อย

– ปริมาณอะมิโลส 28.22 เปอร์เซ็นต์

17. ปลุกเสก

เป็นข้าวเจ้า ที่นิยมปลูกกันในสมัยก่อน ปัจจุบันยังมีการรักษาพันธุกรรมไว้

ข้าวปลุกเสก มีความสูง 128.4 เซนติเมตร กอแบะ เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง หากปลูกในฤดูปกติ ออกดอกปลายเดือนพฤศจิกายน

ที่ มาของชื่อข้าวนั้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์เอี่ยม ทองดี ผู้ทรงคุณค่าวงการข้าวไทย ให้แง่คิดว่า ข้าวพันธุ์นี้ น่าจะได้มาจากพิธีกรรมสำคัญเมื่อครั้งในอดีต

18. หอมทุ่ง

หอมทั่วทุ่ง ตั้งแต่เริ่มออกดอก

เป็นข้าวเหนียว ที่มีถิ่นกำเนิดแถบอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี

ความสูงของต้น 99.4 เซนติเมตร กอตั้ง เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง

เมล็ดยาว 9.61 มิลลิเมตร กว้าง 2.88 มิลลิเมตร ออกดอกช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน

เหตุ ที่ได้ชื่อพันธุ์ว่า “หอมทุ่ง”นั้น เพราะช่วงเวลาที่ข้าวพันธุ์นี้ออกดอก กลิ่นหอมจะกระจายไปทั่วทุ่ง เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตนำมานึ่ง ยังมีกลิ่นหอมกรุ่น ชวนลิ้มลองรสชาติ

19. เบื่อน้ำ

ชื่อ พันธุ์ข้าว มีที่มาหลายทางด้วยกัน เช่น ตั้งตามชาวนาที่มีพันธุ์ข้าวอยู่ ตั้งตามลักษณะเมล็ดข้าวมีอยู่ไม่น้อย ตั้งตามคุณสมบัติโดดเด่นที่ข้าวมีอยู่

ข้าว เบื่อน้ำ เป็นข้าวเจ้าที่ทนทานต่อความแห้งแล้ง คุณสมบัติเรื่องการหุงต้มและผลผลิต อาจจะสู้บางสายพันธุ์ไม่ได้ แต่ก็มีการเก็บรักษาพันธุกรรมไว้

20. ดอโนน

เป็นข้าว เหนียว ไวต่อช่วงแสง ต้นสูงประมาณ 94 เซนติเมตร วันออกดอก ประมาณ วันที่ 26 กันยายน ทรงกอตั้ง แผ่นใบสีเขียว มีขน ปล้องสีเขียวอ่อน คอรวงยาว รวงแน่นปานกลาง ยอดเกสรตัวเมียสีขาว ยอดดอกสีเขียว ลำต้นแข็งมาก จำนวนข้าวเปลือก 100 เมล็ด หนัก 3.53 กรัม

คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและเคมี

– เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง

– เมล็ดข้าวเปลือก ยาวxกว้างxหนา = 10.27×3.40×2.28 มิลลิเมตร

– เมล็ดข้าวกล้อง ยาวxกว้างxหนา = 7.09×2.84×1.99 มิลลิเมตร

– ลักษณะข้าวหุงสุก นุ่ม เหนียว

21. ขาวปากหม้อ

เป็น ข้าวเจ้า ได้จากการรวบรวมพันธุ์ของ คุณทอง ฝอยหิรัญ พนักงานการเกษตร อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี เมื่อ ปี 2495-2496 จำนวน 196 รวง แล้วนำมาคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ ตามสถานีทดลองข้าวต่างๆ จนได้สายพันธุ์ขาวปากหม้อ 55-3-148

คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อ วันที่ 31 พฤษภาคม 2508

ข้าว ขาวปากหม้อ ต้นสูง 140 เซนติเมตร ไวต่อช่วงแสง ลำต้นสีเขียว แตกกอดี ทรงกอตั้งตรง ใบกว้างและยาว เมล็ดรูปร่างเรียวยาว เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง อายุเก็บเกี่ยวประมาณ วันที่ 3 ธันวาคม ระยะการพักตัวของเมล็ดประมาณ 6 สัปดาห์ เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง ยาว และหนา 2.3, 7.6 และ 1.9 มิลลิเมตร ปริมาณอะมิโลส 22-26 เปอร์เซ็นต์ จุดเด่นของขาวปากหม้อ อยู่ที่คุณภาพของข้าวสุก ร่วน นุ่ม และขาว รับประทานอร่อย

22. เบาขี้ควาย

เป็น ข้าวเจ้า ไวต่อช่วงแสง ต้นสูงประมาณ 135 เซนติเมตร วันออกดอก ประมาณ วันที่ 8 ธันวาคม ทรงกอตั้ง แผ่นใบสีเขียว ปล้องสีเหลืองอ่อน คอรวงยาว ระแง้ถี่ ยอดเกสรตัวเมียสีเหลือง ยอดดอกสีน้ำตาล จำนวนเมล็ดข้าวเปลือก 100 เมล็ด หนัก 3.10 กรัม

คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและเคมี

– เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางขีดน้ำตาล

– เมล็ดข้าวเปลือก ยาวxกว้างxหนา = 8.15×2.55×1.79 มิลลิเมตร

– เมล็ดข้าวกล้อง ยาวxกว้างxหนา = 6.16×2.19×1.66 มิลลิเมตร

– มีท้องไข่น้อย

– ปริมาณอะมิโลส 24.16 เปอร์เซ็นต์

23. ผาแดง

เป็น ข้าวเจ้า ไวต่อช่วงแสง ต้นสูงประมาณ 150 เซนติเมตร วันออกดอก ประมาณ วันที่ 26 ตุลาคม ทรงกอตั้ง แผ่นใบสีเขียว มีขน ปล้องสีเขียว คอรวงยาว ระแง้ถี่ ยอดเกสรตัวเมียสีขาว ยอดดอกสีเขียวอ่อน ลำต้นแข็งปานกลาง จำนวนข้าวเปลือก 100 เมล็ด หนัก 3.27 กรัม

คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและเคมี

– เมล็ดข้าวเปลือกสีเหลืองขีดน้ำตาล

– เมล็ดข้าวเปลือก ยาวxกว้างxหนา = 9.54×3.45×2.15 มิลลิเมตร

– เมล็ดข้าวกล้อง ยาวxกว้างxหนา = 6.88×2.92×1.93 มิลลิเมตร

– มีท้องไข่มาก

– ปริมาณอะมิโลส 26.12 เปอร์เซ็นต์

– ลักษณะข้าวหุงสุก ร่วน แข็ง ไม่มีกลิ่นหอม

24. หอมจันทร์

เป็น ข้าวเจ้า ไวต่อช่วงแสง ต้นสูงประมาณ 166 เซนติเมตร วันออกดอก ประมาณ วันที่ 24 ธันวาคม ทรงกอแบะ แผ่นใบสีเขียว ปล้องสีม่วง คอรวงยาว ระแง้ถี่ ยอดเกสรตัวเมียสีม่วงดำ ยอดดอกสีแดง จำนวนเมล็ดข้าวเปลือก 100 เมล็ด หนัก 3.60 กรัม

คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและเคมี

– เมล็ดข้าวเปลือกสีน้ำตาล

– เมล็ดข้าวเปลือก ยาวxกว้างxหนา = 9.73×2.64×1.72 มิลลิเมตร

– เมล็ดข้าวกล้อง ยาวxกว้างxหนา = 7.24×2.23×1.68 มิลลิเมตร

– มีท้องไข่น้อย

– ปริมาณอะมิโลส 21.70 เปอร์เซ็นต์

25. เหลืองใหญ่

เป็น ข้าวเจ้า ไวต่อช่วงแสง ต้นสูงประมาณ 180 เซนติเมตร วันออกดอก ประมาณ วันที่ 24 พฤศจิกายน ทรงกอตั้ง แผ่นใบสีเขียว มีขนบ้าง ปล้องสีเหลืองอ่อน คอรวงสั้น รวงแน่นปานกลาง ยอดเกสรตัวเมียสีขาว ยอดดอกสีเขียวอ่อน ลำต้นแข็งปานกลาง จำนวนข้าวเปลือก 100 เมล็ด หนัก 2.40 กรัม

คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและเคมี

– เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางขีดสีน้ำตาล ขนสั้น

– เมล็ดข้าวเปลือก ยาวxกว้างxหนา = 9.48×2.61×2.21 มิลลิเมตร

– เมล็ดข้าวกล้อง ยาวxกว้างxหนา = 7.05×2.29×1.77 มิลลิเมตร

– มีท้องไข่ปานกลาง

– ปริมาณอะมิโลส 26.35 เปอร์เซ็นต์

ลักษณะเด่น ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

26. ทองมาเอง

เป็น ข้าวเจ้า ไวต่อช่วงแสง ต้นสูงประมาณ 188 เซนติเมตร วันออกดอก ประมาณ วันที่ 24 พฤศจิกายน ทรงกอตั้ง แผ่นใบสีเขียว มีขนบ้าง ปล้องสีเหลืองอ่อน คอรวงสั้น รวงแน่นปานกลาง ยอดเกสรตัวเมียสีขาว ยอดดอกสีเขียวอ่อน ลำต้นล้ม จำนวนเมล็ดข้าวเปลือก 100 เมล็ด หนัก 2.60 กรัม

คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและเคมี

– เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางขีดน้ำตาล ขนสั้น

– เมล็ดข้าวเปลือก ยาวxกว้างxหนา = 9.80×2.45×2.20 มิลลิเมตร

– เมล็ดข้าวกล้อง ยาวxกว้างxหนา = 7.23×2.32×1.82 มิลลิเมตร

– มีท้องไข่น้อย

– ปริมาณอะมิโลส 28.97 เปอร์เซ็นต์

27. นางกลาย

เป็น ข้าวเจ้า ไวต่อช่วงแสง ต้นสูงประมาณ 159 เซนติเมตร วันออกดอก ประมาณ วันที่ 23 ธันวาคม ทรงกอตั้ง แผ่นใบสีเขียว มีขนบ้าง ปล้องสีเหลืองอ่อน คอรวงยาว ระแง้ถี่ ยอดเกสรตัวเมียสีขาว ยอดดอกสีน้ำตาล จำนวนข้าวเปลือก 100 เมล็ด หนัก 3.10 กรัม

คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและเคมี

– เมล็ดข้าวเปลือกสีน้ำตาล

– เมล็ดข้าวเปลือก ยาวxกว้างxหนา = 7.43×2.93×1.89 มิลลิเมตร

– เมล็ดข้าวกล้อง ยาวxกว้างxหนา = 6.26×2.36×1.76 มิลลิเมตร

– มีท้องไข่น้อย

– ปริมาณอะมิโลส 23.11 เปอร์เซ็นต์

28. บือพะทอ

เป็น ข้าวเจ้า ไวต่อช่วงแสง ต้นสูงประมาณ 142 เซนติเมตร วันออกดอก ประมาณ วันที่ 19 กันยายน ทรงกอแบะ แผ่นใบสีเขียว ปล้องสีเหลืองอ่อน รวงแน่นปานกลาง คอรวงสั้น ยอดเกสรตัวเมียสีขาว ยอดดอกสีขาว จำนวนข้าวเปลือก 100 เมล็ด หนัก 2.91 กรัม

คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและเคมี

– เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง

– เมล็ดข้าวเปลือก ยาวxกว้างxหนา = 9.92×3.03×2.04 มิลลิเมตร

– เมล็ดข้าวกล้อง ยาวxกว้างxหนา = 6.55×2.53×1.67 มิลลิเมตร

– ปริมาณอะมิโลส 17.92 เปอร์เซ็นต์

29. บือปิอี

เป็น ข้าวเหนียว ที่ปลูกสืบทอดกันมานาน ของชนเผ่ากะเหรี่ยง ต้นข้าวสูง 119.6 เซนติเมตร ออกรวงปลายเดือนตุลาคม กอตั้ง เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง จัดเป็นข้าวที่คุณสมบัติโดดเด่น เป็นหนึ่งในข้าวพันธุ์ดีของชนเผ่ากะเหรี่ยง

30. กระดูกช้าง 94-10-12

ถิ่นกำเนิดเดิม อยู่อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี เป็นข้าวเจ้าที่ต้นสูงมาก ออกดอกในเดือนพฤศจิกายน

ลักษณะ ของกอ แตกกอปานกลาง กอตั้ง ใบสีเขียว มีขนบนแผ่นใบ เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง เมล็ดข้าวเปลือกยาว 10.8 มิลลิเมตร กว้าง 2.73 มิลลิเมตร หนา 2.07 มิลลิเมตร

คุณภาพข้าวเมื่อหุงสุก แข็ง ร่วน

คุณสมบัติพิเศษ ฟางข้าวแข็งมาก

สำหรับ การตั้งชื่อ สันนิษฐานว่า สาเหตุที่ได้ชื่อว่า “กระดูกช้าง” น่าจะมาจากฟางข้าวที่แข็ง ซึ่งหากมีการนำไปใช้งานบางอย่าง น่าจะเกิดประโยชน์เป็นอย่างมาก

31. สายบัว

จัดเป็น ข้าวเจ้าพันธุ์หนัก ตั้งแต่ปลูกจนเก็บเกี่ยว ใช้ระยะเวลา 240 วัน ลำต้นแข็งแรง ทนทานต่อโรคและแมลง สู้น้ำดี หมายถึง ยืดตามระดับความสูงของน้ำ จึงจัดเป็นข้าวขึ้นน้ำหรือข้าวหนีน้ำอีกสายพันธุ์หนึ่ง

ข้าวพันธุ์นี้ นิยมปลูกกันพอสมควร เมื่อ 40 ปีที่แล้ว

เรื่อง คุณสมบัติของข้าวเมื่อหุง อาจจะสู้พันธุ์อื่นไม่ได้ แต่ข้าวสายบัว โดดเด่นในเรื่องการนำมาแปรรูป เช่น การทำขนมจีน ขนมปาด ลอดช่อง ดอกจอก ตะโก้ และอื่นๆ

32. ลูกปลา

เป็นข้าวเจ้า ไวต่อช่วงแสง ต้นสูงประมาณ 123 เซนติเมตร วันออกดอก ประมาณ วันที่ 9 พฤศจิกายน ทรงกอตั้ง แผ่นใบสีม่วงที่ริมมีขน ปล้องสีเหลืองอ่อน คอรวงยาว รวงแน่น ระแง้ถี่ ยอดเกสรตัวเมียสีม่วงดำ ยอดดอกสีแดง ลำต้นค่อนข้างแข็ง จำนวนข้าวเปลือก 100 เมล็ด หนัก 2.02 กรัม

คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและเคมี

– เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ก้นจุด

– เมล็ดข้าวเปลือก ยาวxกว้างxหนา = 8.44×2.55×1.95 มิลลิเมตร

– เมล็ดข้าวกล้อง ยาวxกว้างxหนา = 6.21×2.19×1.72 มิลลิเมตร

– มีท้องไข่มาก

– ปริมาณอะมิโลส 19.12 เปอร์เซ็นต์

– ลักษณะข้าวหุงสุก นุ่ม เหนียว

33. บือเกษตร

เป็น ข้าวเจ้า ไวต่อช่วงแสง ต้นสูงประมาณ 114 เซนติเมตร วันออกดอก ประมาณ วันที่ 9 ตุลาคม ทรงกอตั้ง แผ่นใบสีเขียว ปล้องสีเหลืองอ่อน รวงแน่นปานกลาง คอรวงยาว ยอดเกสรตัวเมียสีขาว ยอดดอกสีขาว จำนวนข้าวเปลือก 100 เมล็ด หนัก 3.22 กรัม

คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและเคมี

– เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางขีดน้ำตาล

– เมล็ดข้าวเปลือก ยาวxกว้างxหนา = 8.21×3.44×2.08 มิลลิเมตร

– เมล็ดข้าวกล้อง ยาวxกว้างxหนา = 5.78×2.88×1.81 มิลลิเมตร

– ปริมาณอะมิโลส 16.88 เปอร์เซ็นต์

34. ดอเตี้ย

เป็น ข้าวเหนียว ไวต่อช่วงแสง ต้นสูงประมาณ 98 เซนติเมตร วันออกดอก ประมาณ วันที่ 25 กันยายน ทรงกอแบะ แผ่นใบสีเขียวมีขน ปล้องสีเหลืองอ่อน คอรวงยาว รวงแน่น ระแง้ถี่ ยอดเกสรตัวเมียสีขาว ยอดดอกสีเขียวอ่อน ลำต้นค่อนข้างแข็ง จำนวนเมล็ดข้าวเปลือก 100 เมล็ด หนัก 3.00 กรัม

คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและเคมี

– เมล็ดข้าวเปลือกสีเหลือง

– เมล็ดข้าวเปลือก ยาวxกว้างxหนา = 10.51×3.14×2.03 มิลลิเมตร

– เมล็ดข้าวกล้อง ยาวxกว้างxหนา = 7.27×2.56×1.83 มิลลิเมตร

– ลักษณะข้าวหุงสุก นุ่ม

35. ดอหางวี

เป็น ข้าวเหนียว ไวต่อช่วงแสง ต้นสูงประมาณ 106 เซนติเมตร วันออกดอก ประมาณ วันที่ 2 ตุลาคม ทรงกอแบะ แผ่นใบสีเขียวมีขน ปล้องสีเหลืองอ่อน คอรวงยาว รวงแน่น ระแง้ถี่ ยอดดอกและยอดเกสรตัวเมียสีเขียวอ่อน ลำต้นค่อนข้างแข็ง จำนวนเมล็ดข้าวเปลือก 100 เมล็ด หนัก 2.52 กรัม

คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและเคมี

– เมล็ดข้าวเปลือกสีเหลืองขีดน้ำตาล

– เมล็ดข้าวเปลือก ยาวxกว้างxหนา = 9.74×2.68×1.95 มิลลิเมตร

– เมล็ดข้าวกล้อง ยาวxกว้างxหนา = 7.12×2.22×1.75 มิลลิเมตร

– ลักษณะข้าวหุงสุก นุ่ม

36. หอมดง

เป็นข้าวพื้นเมืองของคนเชื้อสาย ญัฮกุร

ญัฮ กุร หรือ เนียะกุล ที่คนไทยเรียก แต่ไม่เป็นที่ชอบใจของชาวญัฮกุรนักคือ “ชาวบน” เป็นชุมชนที่ใช้ภาษามอญโบราณ อยู่บนภูเขาแถบแม่น้ำป่าสักในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดนครราชสีมา โดยเฉพาะที่จังหวัดชัยภูมิ อยู่ในเขตอำเภอหนองบัวระเหว และอำเภอจัตุรัส กลุ่มชนดังกล่าวเรียกตนเองว่า “ญัฮกุร” (Nyah-Kur) แปลว่า “คนภูเขา” คนไทยในเมืองเรียกชนกลุ่มนี้ว่า “ชาวบน” ซึ่งพูดภาษาที่คนไทยภาคต่างๆ ฟังไม่รู้เรื่อง

ชาวบน มีผิวค่อนข้างดำ ตาโตกว่าคนไทย แต่ไม่ต่างจากคนไทยมากนัก รูปร่างสูงปานกลาง ผู้หญิงจะหน้าตาดี การแต่งกายแบบดั้งเดิมของชาวบน คือ ผู้หญิงจะสวมเสื้อเก๊าะ และนุ่งผ้านุ่งมีชายผ้าใหญ่ สวมสร้อยเงิน และเจาะใบหูกว้างเพื่อสวมตุ้มหูใหญ่ ชาวบนเรียก กะจอน ทำด้วยไม้มีกระจกติดข้างหน้า ไว้ผมยาวเกล้ามวย ส่วนผู้ชายนุ่งผ้าโสร่งตาหมากรุก วิธีการนุ่งแบบเหน็บธรรมดา

ข้าว หอมดง จัดเป็นข้าวเจ้า ที่นิยมปลูกในสภาพไร่ ต้นเตี้ย วัดความสูงเฉลี่ย 70 เซนติเมตร แตกกอดี ใบสีเขียว ใบธงนอน รวงสั้น จับห่าง คอรวงเหนียว เป็นข้าวกลาง เก็บเกี่ยวประมาณเดือนพฤศจิกายน เมล็ดข้าวเปลือกอ้วนสั้นสีเหลืองนวล หางสั้น ข้าวสารสีขาวใส เหมาะต่อการบริโภค มีกลิ่นหอมมาก

37. เอวมดแดง

ข้าว พันธุ์เอวมดแดง เป็นข้าวพื้นที่ของภาคใต้ โดยศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง สำนักวิจัยและพัฒนาข้าวโดยกรมการข้าวได้เก็บรวบรวมสายพันธุ์มาจากอำเภอ โคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี

ข้าวพันธุ์เอวมดแดง เป็นข้าวเจ้านาสวน มีความสูงของลำต้นประมาณ 187 เซนติเมตร

ทรง กอ เป็นกอแบะ ลักษณะรวงจะจับกันแน่นมาก ก้านรวงตั้งตรง แต่พบว่ามีการร่วงของเมล็ดมาก สีของแผ่นใบมีสีเขียวจาง สีของกาบใบ มีสีเขียวเส้นม่วง ออกดอก ประมาณ วันที่ 26 ธันวาคม

38. ล้นยุ้ง

ล้น ยุ้ง เป็นชื่อพันธุ์ข้าวนาสวน ประเภทข้าวเจ้า ถือเป็นอีกหนึ่งสายพันธุ์ข้าวพื้นเมืองของประเทศไทย โดยชื่อของสายพันธุ์ข้าวชนิดนี้ ตั้งให้มีความหมายในทางที่ดี เป็นสิริมงคล บ่งบอกถึงความร่ำรวย หรือการได้ผลผลิตมากๆ เช่นเดียวกับข้าวสายพันธุ์อื่นๆ เช่น ขาวเศรษฐี ขาวหลุดหนี้ ก้อนแก้ว เกวียนหัก เหลืองควายล้า ขาวทุ่งทอง เป็นต้น

กรมการข้าว ได้มีการรวบรวมสายพันธุ์ข้าวล้นยุ้งมาจากอำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี โดยข้าวล้นยุ้ง จะออกดอกช่วงประมาณต้นเดือนพฤศจิกายน

ลักษณะประจำพันธุ์ ต้นสูงปานกลาง กอแบะ แตกกอปานกลาง

ใบ สีเขียว มีขนบนใบ

สีข้าวเปลือก สีฟาง

คุณภาพข้าวสุก ร่วน

ขนาดเมล็ดข้าวเปลือก ยาว 9.74 มิลลิเมตร กว้าง 2.76 มิลลิเมตร หนา 1.99 มิลลิเมตร

39. ดอกพะยอม

ได้ จากการรวบรวมพันธุ์ข้าวไร่พื้นเมืองในพื้นที่ภาคใต้ โดยเจ้าหน้าที่กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ในระหว่างปี พ.ศ. 2502-2521 โดยนำมาปลูกเปรียบเทียบพันธุ์ในสถานีทดลองข้าวภาคใต้ จนคณะกรรมการวิจัยและพัฒนา กรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อ วันที่ 7 ธันวาคม 2522

ข้าวดอกพะยอม เป็นข้าวไร่พื้นเมือง ลำต้นสูงประมาณ 150 เซนติเมตร เป็นข้าวที่ไวต่อช่วงแสงอย่างอ่อน มีอายุเก็บเกี่ยว ถ้าปลูกต้นเดือนมิถุนายน เกี่ยวปลายเดือนตุลาคม ถ้าปลูกปลายเดือนสิงหาคม เกี่ยวปลายเดือนมกราคม (อายุประมาณ 145-150 วัน)

ลำต้นเขียว ใบยาว ค่อนข้างแคบ ชูรวงดี เมล็ดเรียวยาว ข้าวเปลือกสีฟาง ก้นจุด มีระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 2 สัปดาห์

เมล็ดข้าวเปลือก ยาวxกว้างxหนา = 10.3×2.4×2.0 มิลลิเมตร

เมล็ดข้าวกล้อง ยาวxกว้างxหนา = 7.3x 2.2×1.8 มิลลิเมตร

ปริมาณอะมิโลส 24%

คุณภาพข้าวสุก ร่วน นุ่ม มีกลิ่นหอม

ผลผลิต ประมาณ 250 กิโลกรัม ต่อไร่

ลักษณะเด่น คอรวงยาว สามารถปลูกเป็นพืชแซมยางได้ดี มีความต้านทานโรคไหม้ โรคใบจุดสีน้ำตาล และโรคใบขีดสีน้ำตาล

ข้อควรระวัง ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง และโรคใบวงสีน้ำตาล

พื้นที่แนะนำ พื้นที่ข้าวไร่ในภาคใต้

40. เจ๊กเชยเสาไห้

พันธุ์ข้าว จีไอ

เจ๊ก เชย เป็นชื่อพันธุ์ข้าวพื้นเมืองคุณภาพดีของอำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี มีชื่อเสียงมาอย่างยาวนานตั้งแต่ต้นรัชสมัยรัตนโกสินทร์ เพราะเป็นสายพันธุ์ข้าวที่หุงจะขึ้นหม้อ เมล็ดข้าวสวย รสชาตินุ่มนวล ไม่แข็งกระด้าง ที่สำคัญคือ ไม่บูดง่าย และไม่ยุบตัวเมื่อราดแกง โดยสายพันธุ์ข้าวเจ๊กเชยนั้นหากดูที่สีของกาบใบจะแบ่งออกเป็น หนึ่ง เจ๊กเชยกาบใบเขียว และ สอง เจ๊กเชยกาบใบม่วง

ที่มาของชื่อนั้น สืบเนื่องมาจากผู้ที่นำสายพันธุ์ข้าวพันธุ์นี้เข้ามาในพื้นที่ ซึ่งเป็นพ่อค้าที่เป็นชาวไทยเชื้อสายจีน ชื่อ “เจ๊กเชย” จึงกลายเป็นชื่อเรียกที่สืบต่อกันมาถึงทุกวันนี้

แต่อย่างไรก็ตาม ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เกษตรกรในพื้นที่อำเภอเสาไห้ ซึ่งปลูกข้าวสายพันธุ์นี้ ได้เลิกปลูกกันเป็นจำนวนมาก เนื่องจากมีสาเหตุปัญหาด้านผลผลิตที่ต่ำ ปลูกได้เพียงปีละครั้ง ความไม่บริสุทธิ์ของเมล็ดพันธุ์ ตลอดจนความแปรปรวนในประชากรของพันธุ์ข้าวเจ๊กเชยทำให้ราคาไม่จูงใจให้ เกษตรกรปลูก

ดังนั้น ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี กรมการข้าว จึงดำเนินการคัดเลือกพันธุ์บริสุทธิ์จากพันธุ์ข้าวเจ๊กเชยพื้นเมืองไปสู่การ ปรับปรุงมาตรฐานคุณภาพข้าวเสาไห้ให้ดีเด่นเหมือนกับอดีตที่ผ่านมา โดยเริ่มต้นปรับปรุงพันธุ์ในฤดูนาปี 2545 โดยเก็บรวบรวมพันธุ์จากแปลงเกษตรกรในจังหวัดสระบุรี จำนวน 34 ตัวอย่างพันธุ์ ปลูกคัดเลือกแบบหมู่ (mass selection) ได้สายพันธุ์ PTTC02019 แล้วคัดเลือกสายพันธุ์บริสุทธิ์ (pure line selection) จนได้สายพันธุ์บริสุทธิ์ PTTC02019-1 ในฤดูนาปี 2546

การรับรอง พันธุ์ คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ กรมการข้าว มีมติรับรองพันธุ์ข้าว ชื่อ เจ๊กเชย 1 เพื่อแนะนำให้เกษตรกรปลูก เมื่อ วันที่ 26 กันยายน 2551

ลักษณะประจำพันธุ์

– เป็นข้าวเจ้า สูงเฉลี่ย 160-170 เซนติเมตร

– ไวต่อช่วงแสง

– อายุเก็บเกี่ยว วันที่ 10 ธันวาคม

– ทรงกอตั้ง ใบสีเขียว ใบธงหักลง คอรวงยาว

– เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ขนสั้น

– เมล็ดข้าวเปลือก ยาวxกว้างxหนา = 10.3×2.5×2.0 มิลลิเมตร

– เมล็ดข้าวกล้อง ยาวxกว้างxหนา = 7.7×2.1×1.7 มิลลิเมตร

– ปริมาณอะมิโลสสูง 27.1%

– คุณภาพข้าวสุกค่อนข้างแข็ง

– ระยะพักตัวของเมล็ดพันธุ์ ประมาณ 6-7 สัปดาห์

– ผลผลิต เฉลี่ย 812 กิโลกรัม ต่อไร่

ลักษณะเด่น

– ข้าวสารมีคุณภาพดีแบบข้าวเสาไห้ หุงขึ้นหม้อ ร่วนเป็นตัว ไม่เกาะกัน เนื้อสัมผัสจากการชิมค่อนข้างแข็ง แต่มีความนุ่ม ไม่แข็งกระด้าง

– สามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เส้นและขนมได้ดี

– สามารถปลูกได้ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงในเรื่องน้ำท่วม เนื่องจากเป็นข้าวต้นสูงและทนน้ำท่วมได้ดีกว่าข้าวไม่ไวต่อช่วงแสงในพื้นที่ เดียวกัน

ข้อควรระวัง ไม่ต้านทานต่อโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

พื้นที่แนะนำ จังหวัดสระบุรี และใกล้เคียงที่มีนิเวศการเกษตรคล้ายคลึงกัน

ด้วย ข้าวพันธุ์เจ๊กเชยเสาไห้เป็นสายพันธุ์ข้าวคุณภาพดี กรมทรัพย์สินทางปัญญาจึงได้รับการจดทะเบียนให้เป็นหนึ่งในสินค้าสิ่งบ่งชี้ ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications : GI) ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. 2546

41. ช่อไม้ไผ่

ช่อ ไม้ไผ่ เป็นชื่อสายพันธุ์ข้าวเหนียวดำพันธุ์พื้นเมืองของภาคใต้ มีลักษณะเด่นคือ เมื่อนำมานึ่งสุกมีลักษณะอ่อนนุ่ม คนในภาคใต้จะนิยมนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เป็นอาหารเสริมหรืออาหารว่าง ใช้ในงานบุญประเพณี ทำให้มีราคาจำหน่ายสูงกว่าข้าวทั่วไป

ช่อไม้ไผ่ เป็นสายพันธุ์ข้าวที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยเฉพาะวิตามินบี 1 วิตามินบี 3 วิตามินบี 6 และวิตามินอี

พื้นที่ แนะนำปลูก เหมาะสำหรับปลูกในบริเวณพื้นที่นาดอนและสภาพไร่ในภาคใต้ แต่ข้อควรระวังคือ อ่อนแอต่อโรคไหม้และโรคขอบใบแห้ง ไม่เหมาะสมกับการปลูกในพื้นที่นาลุ่ม

จากลักษณะเด่นและเป็นที่ต้อง การของผู้บริโภค ศูนย์วิจัยข้าวปัตตานี สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว จึงดำเนินการปลูกคัดเลือกให้เป็นสายพันธุ์บริสุทธิ์แบบรวงต่อแถว คัดเลือกจนได้สายพันธุ์ PTNC96004-49 และต่อมาได้ขึ้นทะเบียนภายใต้ชื่อ ข้าวเหนียวพันธุ์เหนียวดำช่อไม้ไผ่ 49

โดยเป็นข้าวไวต่อช่วงแสง ออกดอกปลายเดือนมกราคม ผลผลิตเฉลี่ย 363 กิโลกรัม ต่อไร่ ความสูงของลำต้น ประมาณ 135 เซนติเมตร ลักษณะทรงกอตั้ง ใบสีเขียวเข้ม กาบใบสีเขียว ใบธงหักลง ยอดเกสรตัวเมียสีขาว ยอดดอกสีม่วง กลีบดอกสีม่วงดำ คอรวงยาว รวงแน่นปานกลาง รวงยาว 28.5 เซนติเมตร เมล็ดเกาะกันเป็นกลุ่มบนระแง้ กลุ่มละ 2-4 เมล็ด ส่วนใหญ่มี 3 เมล็ด

เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ยาว 10.21 มิลลิเมตร กว้าง 3.66 มิลลิเมตร หนา 2.22 มิลลิเมตร

ข้าวกล้องสีม่วงดำ รูปร่างเมล็ดค่อนข้างป้อม ยาว 7.20 มิลลิเมตร กว้าง 2.81 มิลลิเมตร หนา 1.92 มิลลิเมตร

ข้าวเปลือก 1,000 เมล็ด หนัก 34.59 กรัม น้ำหนักข้าวเปลือก 10.38 กิโลกรัม ต่อถัง

คุณภาพการสี ปานกลาง

ระยะพักตัว ประมาณ 8 สัปดาห์

สถานที่ติดต่อ ศูนย์วิจัยข้าวปัตตานี เลขที่ 128 หมู่ที่ 7 ตำบลมะกรูด อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี โทร. (076) 343-135

42. แม่โจ้ 2

ผลงานประดิษฐ์คิดค้นดีเด่น ปี 55

“ข้าว เหนียวหอมต้นเตี้ย ไม่ไวต่อช่วงแสง สายพันธุ์แม่โจ้ 2” ผลงานวิจัยของ ผศ.ดร. วราภรณ์ แสงทอง สาขาพันธุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับทีมงานนักศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโท สาขาพืชไร่ คณะผลิตกรรมการเกษตร และสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ทดลองและปรับปรุงพันธุ์นานถึง 7 ปี โดยใช้ข้าวเจ้าพันธุ์ปทุมธานี 1 เป็นพันธุ์รับ และข้าวเหนียวพันธุ์ กข 6 เป็นพันธุ์ให้ ใช้วิธีผสมกลับ และใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก

“ข้าว เหนียวหอมต้นเตี้ย ไม่ไวต่อช่วงแสง สายพันธุ์แม่โจ้ 2” มีคุณสมบัติสำคัญคือ ไม่ไวต่อช่วงแสง สามารถปลูกได้ทั้งในฤดูนาปีและนาปรัง ความสูงประมาณ 90-120 เซนติเมตร

ลักษณะต้นเตี้ยช่วยต้านทานต่อการหักล้มและง่าย ต่อการใช้รถเก็บเกี่ยว แก้ปัญหาการขาดแรงงานเก็บเกี่ยว ความเป็น “ข้าวเหนียวหอม” จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับข้าวเหนียว เนื่องจากสายพันธุ์แม่โจ้ 2 มีกลิ่นหอม

สำหรับ “ข้าวเหนียวหอมต้นเตี้ย แม่โจ้ 2” ขณะนี้กำลังอยู่ในการทดลองปลูกสถานีสุดท้ายก่อนเผยแพร่พันธุ์ให้เกษตรกรที่สนใจต่อไป

43. กข 6

เป็น ข้าวเหนียว ได้จากการปรับปรุงพันธุ์ โดยการใช้รังสีชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ โดยใช้รังสีแกมมา ปริมาณ 20 กิโลแรด อาบเมล็ดพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 แล้วนำมาปลูกคัดเลือกที่สถานีทดลองข้าวบางเขน และสถานีทดลองข้าวพิมาย

จาก การคัดเลือก ได้ข้าวเหนียวหลายสายพันธุ์ในข้าวช่วงที่ 2 นำไปปลูกคัดเลือกจนอยู่ตัว ได้สายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงสุดคือ สายพันธุ์ KDML105″65-G2U-68-254 นับว่าเป็นข้าวพันธุ์ดีพันธุ์แรกของประเทศไทย ที่ค้นคว้าได้โดยใช้วิธีชักนำพันธุ์พืชให้เปลี่ยนกรรมพันธุ์โดยใช้รังสีซึ่ง คณะกรรมการวิจัยและพัฒนา กรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อ วันที่ 4 พฤษภาคม 2520

ลักษณะประจำพันธุ์

เป็นข้าวเหนียว ลำต้นสูงประมาณ 154 เซนติเมตร ไวต่อช่วงแสง ลักษณะทรงกอกระจายเล็กน้อย ใบยาวสีเขียวเข้ม ใบธงตั้ง ลำต้นแข็งปานกลาง ต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล คุณภาพการสีดี เมล็ดยาวเรียว เมล็ดข้าวเปลือกมีสีน้ำตาล อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ วันที่ 21 พฤศจิกายน

ระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 5 สัปดาห์

เมล็ดข้าวกล้อง กว้างxยาวxหนา = 2.2×7.2×1.7 มิลลิเมตร

คุณภาพข้าวสุก เหนียวนุ่ม มีกลิ่นหอม

ผลผลิต ประมาณ 666 กิโลกรัม ต่อไร่ เป็นข้าวที่ให้ผลผลิตสูงและทนแล้ง

ข้อควรระวัง ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง และโรคใบแห้ง ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและแมลงบั่ว

พื้นที่แนะนำ บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

44. หางยี 71

ได้ จากการรวบรวมพันธุ์ โดยพนักงานข้าวจากอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เมื่อ ปี พ.ศ. 2506 ปลูกคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ตามสถานีทดลองข้าวต่างๆ จนได้สายพันธุ์ หางยี 563-2-71 ซึ่งคณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ เมื่อ พ.ศ. 2511

ลักษณะประจำพันธุ์

– เป็นข้าวเหนียว สูงประมาณ 152 เซนติเมตร

– ไวต่อช่วงแสง ปลูกได้เฉพาะฤดูนาปี

– ลำต้นสีเขียว ใบแคบ และยาว สีเขียวเข้ม รวงอ่อนมีระแง้แผ่ออกคล้ายตีนนก

– เมล็ดข้าวยาวเรียว

– เมล็ดข้าวเปลือกสีน้ำตาล

– อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 4 พฤศจิกายน

– ระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 1 สัปดาห์

– เมล็ดข้าวกล้อง กว้างxยาวxหนา = 2.1×7.1×1.8 มิลลิเมตร

– คุณภาพข้าวสุก เหนียวนุ่ม

– ผลผลิต ประมาณ 506 กิโลกรัม ต่อไร่

ลักษณะเด่น

– ต้านทานโรคไหม้

– ค่อนข้างต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล

– เป็นข้าวต้นสูง อายุเบา เหมาะกับสภาพที่ดอนที่น้ำหมดเร็ว

ข้อควรระวัง

– ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง โรคใบสีส้ม

– ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และแมลงบั่ว

45. เขียวนกกระลิง

เขียว นกกระลิง เป็นอีกหนึ่งพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่หายากของประเทศไทย ข้าวสายพันธุ์นี้อยู่ในกลุ่มข้าวเจ้า กรมการข้าวมีการรวบเมล็ดพันธุ์ข้าวเขียวนกกระลิงได้จากเขตอำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก

ที่มาของชื่อ เป็นการตั้งตามหลักการตั้งชื่อที่เกี่ยวข้องกับพันธุ์ข้าวหรือเมล็ดข้าว ซึ่งสันนิษฐานว่า น่าจะมาในส่วนของใบและกาบใบข้าวที่มีสีเขียวเหมือนกับสีเขียวบนลำตัวของนก กระลิง

จากข้อมูลของกรมการข้าว บอกว่า ข้าวพันธุ์นกกระลิง เป็นข้าวเจ้าขึ้นน้ำ ที่ไวต่อช่วงแสง ลักษณะของกอจะแบะ และแตกกอน้อย ใบและกาบใบสีเขียว ไม่มีขนบนแผ่นใบ ใบธงทำมุม 45 องศา กับลำต้น เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ก้นจุด ขนาดเมล็ดข้าวเปลือกยาว 10.40 มิลลิเมตร กว้าง 2.84 มิลลิเมตร หนา 2.05 มิลลิเมตร ในส่วนความสูงของลำต้นนั้น มีสถิติที่บันทึกไว้ว่า เคยพบ ต้นข้าวเขียวนกกระลิงสูงถึง 1.20 เมตร ข้าวสายพันธุ์นี้ จะออกดอกประมาณช่วงต้นเดือนธันวาคม และข้าวสารของพันธุ์เขียวนกกระลิง เมื่อนำไปหุงแล้วพบว่า ข้าวสุกจะมีลักษณะแข็งร่วน

46. อัลฮัมดูสันล๊ะ

มาจากภาษามลายู แปลว่า ขอบคุณพระเจ้า เรียกสั้นๆ ว่า ข้าวอัลฮัม ชาวนาพัทลุงได้นำข้าวอัลฮัมไปปลูก โดยตั้งชื่อใหม่ว่า “ข้าวขาวสตูล”

ข้าว อัลฮัม เป็นข้าวพันธุ์ไวต่อช่วงแสง ที่มีลักษณะพิเศษคือ ทนต่อความเป็นกรดของดินในพื้นที่ภาคใต้ได้ดี เช่นเดียวกับข้าวพันธุ์ลูกแดง ข้าวขาวตายก ไข่มด ช่อมุก ดอนทราย ลูกเหลือง ข้าวแดง หมออรุณ รวงยาว สีรวง มัทแคนดุ เป็นต้น ซึ่งข้าวพื้นเมืองในกลุ่มนี้โดยทั่วไปจะมีผลผลิตเฉลี่ยประมาณไร่ละ 15-40 ถัง

ชาวนาสตูลนิยมปลูกข้าวอัลฮัม ในช่วงนาปี เริ่มปักดำนาตั้งแต่เดือนสิงหาคม ใช้เวลาปลูกและดูแลประมาณ 5-8 เดือน และจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคม-มกราคมของทุกปี ข้าวพันธุ์นี้ดูแลไม่ยุ่งยาก แค่หว่านปุ๋ยไร่ละ 15 กิโลกรัม ใน 2 ระยะ คือ ช่วงปักดำเพื่อเร่งให้ต้นข้าวแตกกอและช่วงที่ต้นข้าวเริ่มตั้งท้อง ข้าวอัลฮัม มีลักษณะเด่นที่สำคัญคือ เป็นข้าวขาวที่มีรสชาติหวานมัน มีคุณค่าทางอาหารสูง ปลูกง่าย ทนทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช ปัจจุบันปลูกเพื่อบริโภคภายในครัวเรือน แล้วยังจำหน่ายในท้องถิ่นและส่งขายในประเทศมาเลเซียอีกด้วย

47. เล้าแตก

เป็น ข้าวเหนียวประจำถิ่นอีสาน มีเรื่องเล่าว่า ผู้เฒ่าคนหนึ่งปลูกข้าว เมื่อเก็บเกี่ยวก็เก็บข้าวขึ้นเล้า (ยุ้ง) แต่เก็บยังไงก็ยังไม่พอใส่ เลยสร้างเล้าขึ้นมาใหม่แล้วเก็บข้าวไว้จนแน่น แต่ไม่นานเล้านั้นก็แตก ผู้คนเห็นเข้าก็เล่าขานกันว่าข้าวพันธุ์นี้ให้ผลผลิตมากจนเล้าแตก เลยเรียกว่า ข้าวเล้าแตก กันสืบมา ชาวนาภาคอีสานมีความเชื่อว่า หากปลูกข้าวพันธุ์นี้ จะทำให้ไม่อดอยากเพราะให้ผลผลิตต่อไร่สูงมาก

ข้าว เล้าแตก เป็นข้าวนาปี อายุปานกลาง สูง 150 เซนติเมตร กอตั้งใบสีเขียว ใบธงตั้งตรง รวงยาว จับถี่ซ้อนกัน ลำต้นแข็งมาก เก็บเกี่ยวกลางเดือนพฤศจิกายน ผลผลิตสูงกว่า กข 6 อยู่ 2-3 เท่า เมล็ดใหญ่แบน เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ไม่มีหาง ข้าวสารขาวขุ่น เมื่อนำไปหุงจะมีกลิ่นหอม เนื้อข้าวอ่อนนิ่มและเหนียวมาก หากอุ่นซ้ำ ข้าวจะเหนียวเกินไป ข้าวเล้าแตกเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายเพราะเติบโตง่ายในดินแทบทุกประเภท แถมเมล็ดโต และให้ผลผลิตดีมาก นิยมแปรรูปเป็นขนมต่างๆ เช่น ข้าวโป่ง ข้าวต้มมัด ข้าวหลาม ขนมข้าวพอง คนอีสานนิยมนำข้าวเหนียวเล้าแตกเป็นข้าวเหนียวมารับประทานกับลาบ ก้อย น้ำตก ส้มตำ เพราะข้าวชนิดนี้มีรสหวานน้อย นึ่งแล้วมีความอ่อนนุ่มมาก แม้จะทิ้งไว้จนข้าวเย็นแล้ว

48. เขี้ยวงู

เป็น ข้าวเหนียว ที่นิยมปลูกในแถบภาคเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ในอดีตชาวนาไทยในแถบล้านนา จะรับประทานข้าวเหนียวเป็นหลัก ผู้มีนาในครอบครองมากจะปลูกข้าวเหนียวคุณภาพดี คือ มีเมล็ดเล็ก ผอมเรียวยาว นุ่ม มีกลิ่นหอม แต่ไม่เน้นผลผลิต และเนื่องจากลักษณะเมล็ดที่ผอมเรียวยาวคล้ายเขี้ยวงู จึงเรียกว่า ข้าวเขี้ยวงู

เขี้ยวงู เป็นข้าวเหนียวนาปี เป็นข้าวเบา เหมาะสำหรับพื้นที่ทุ่งราบลุ่ม นาทาม น้ำไม่ท่วม ต้นข้าวสูง 160 เซนติเมตร กอตั้ง ใบสีเขียว ใบธงเป็นแนวนอน รวงยาว จับถี่เมล็ดยาว เก็บเกี่ยวปลายเดือนพฤศจิกายน เมล็ดเล็กเรียว เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง อมแดง เมล็ดข้าวสีขาวขุ่น เหมาะสำหรับบริโภค เพราะมีรสชาติอร่อย นิ่ม หอม หุงขึ้นหม้อ ข้าวที่นึ่งแล้วมีลักษณะเมล็ดเรียวยาว เป็นมันวาว นิยมนำมาแปรรูปเป็นข้าวเหนียวมูน

49. ปลาเข็ง

เป็น ข้าวเหนียวพื้นเมืองภาคอีสาน เนื่องจากข้าวพันธุ์นี้ มีลักษณะเด่นคือ ข้าวเมล็ดใหญ่เกือบยาว เปลือกลาย คล้ายเงี่ยงปลาแข็ง หรือปลาหมอ ชาวบ้านจึงเรียกข้าวพันธุ์นี้ว่า “ปลาเข็ง” อยู่ในกลุ่มข้าวเบา นิยมปลูกเป็นข้าวนาปีในที่ดอน ต้นข้าวสูงประมาณ 160 เซนติเมตร กอตั้ง ใบสีเขียว ใบธงตั้งตรง รวงยาว จับถี่ซ้อนกัน เก็บเกี่ยวปลายเดือนตุลาคม เมล็ดข้าวเปลือกป้อมสีฟางขีดดำ ไม่มีหาง ข้าวสารสีขาวขุ่น ผลผลิตต่อไร่สูงมาก และมีกลิ่นหอมเล็กน้อย เหมาะสำหรับแปรรูปทำเหล้าสาโท ทำข้าวต้มมัด

50. ดอฮี

เป็นข้าวเบา ซึ่งในภาษาอีสานเรียก ข้าวดอ หมายถึง ข้าวที่เก็บเกี่ยวผลผลิตเร็ว ส่วนคำว่า ฮี คือคำบอกลักษณะรวงที่โค้งค้อม ชาวนาอีสานจำนวนไม่น้อยนิยมปลูกข้าวดอฮี เพราะถือเป็นข้าวอายุเบาที่เก็บเกี่ยวได้เร็ว เหมาะสำหรับครอบครัวที่มีข้าวไม่พอกิน

ข้าวดอฮี เป็นข้าวเหนียวนาปี เหมาะสำหรับที่ดอน โคก ทุ่งราบปานกลาง อายุเบา สูง 135 เซนติเมตร กอตั้ง ใบสีเขียวจาง ใบธงหักลง รวงยาว จับถี่ปานกลาง ใช้ระยะเวลาปลูกประมาณ 90-110 วัน เก็บเกี่ยวกลางเดือนตุลาคม ผลผลิตต่อไร่ปานกลาง เมล็ดเรียว เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางขีดน้ำตาล ไม่มีหาง ข้าวสารสีขาวขุ่น เมื่อนำไปหุง รสชาติอร่อย อ่อนนิ่ม มีกลิ่นหอมเล็กน้อย

51. สันปลาหลาด

เป็น ข้าวเหนียว นาปี อายุหนัก เหมาะสำหรับพื้นที่ลุ่มทาม น้ำไม่ท่วม ต้นข้าวสูง 165 เซนติเมตร กอแผ่ ใบสีเขียวจาง ใบธงตั้งตรง รวงยาว จับถี่ เก็บเกี่ยวปลายเดือนพฤศจิกายน ผลผลิตต่อไร่สูง เมล็ดใหญ่ยาว เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางปนน้ำตาล ไม่มีหาง ข้าวสารสีขาวขุ่น เมื่อนำไปหุง รสชาติอร่อย อ่อนนิ่ม และมีกลิ่นหอม

52. พม่า

ผู้ เฒ่าผู้แก่ในท้องถิ่นทุ่งกุลาร้องไห้มักเล่าให้ลูกหลานฟังถึงที่มาของพันธุ์ ข้าวพม่าว่า สมัยนายขนมต้มไปเป็นเชลยอยู่ที่เมืองพม่า น้ำท่าไม่ใคร่ได้อาบจนตัวเหนียวเหนอะ หิวโซ เพราะพม่าเลี้ยงให้อดๆ อยากๆ วันหนึ่งจึงขโมยพันธุ์ข้าวพม่าหนีบรักแร้ติดตัวออกมาปลูกข้าวกินเอง

ข้าว พม่า เป็นข้าวเหนียว นาปี อายุหนัก เหมาะสำหรับพื้นที่ลุ่ม นาทาม ต้นข้าวสูง 165 เซนติเมตร สู้น้ำดี แตกกอดี ทนทานต่อโรค กอแบะ ใบสีเขียวจาง ใบธงตั้งตรง รวงยาว จับถี่ เก็บเกี่ยวปลายเดือนพฤศจิกายน ผลผลิตต่อไร่ปานกลาง เมล็ดใหญ่ป้อม เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางกระน้ำตาล ไม่มีหาง ข้าวสารสีขาวขุ่น เมื่อนำไปหุง ข้าวอ่อนนิ่ม เคี้ยวง่าย และมีกลิ่นหอมเล็กน้อย นิยมแปรรูปเป็นข้าวโป่ง ข้าวนางเล็ด ข้าวต้มมัด ข้าวเม่า

53. ลำตาล

เป็นพันธุ์ข้าวดั้งเดิมของคน เชื้อสายไทย้อ มานานกว่าร้อยปี ทุกวันนี้ ลูกหลานยังรักษาสายพันธุ์ข้าวลำตาลไว้ในท้องนา เพราะถือว่าเป็นพันธุ์ข้าวที่พ่อแม่ปลูกไว้แต่เดิม เปรียบเสมือนมรดกที่ต้องรักษาไว้ แม้รสชาติข้าวลำตาลจะไม่นุ่มหอมเท่ากับข้าว กข และออกจะเหนียวกว่า หากหุงทิ้งไว้แล้วอุ่นซ้ำ แต่ถือว่ารสชาตินุ่มอ่อน มัน รับประทานอิ่มใช้ได้ แถมมีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าข้าว กข มาก

ลำตาล เป็นข้าวเหนียว นาปี อายุเบา เหมาะสำหรับพื้นที่ดอน โคก ทุ่งราบปานกลาง ต้นข้าวสูง 160 เซนติเมตร แตกกอดี โคนต้นสีแดงคล้ำ ถอนกล้าง่าย กอตั้ง ใบสีเขียวเข้ม ใบธงตั้งตรง รวงยาวใหญ่ จับถี่ เก็บเกี่ยวปลายเดือนตุลาคม ผลผลิตต่อไร่ปานกลาง เมล็ดใหญ่ป้อม เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางกระน้ำตาล ไม่มีหาง ข้าวสารสีขาวขุ่น เหมาะสำหรับบริโภค เพราะมีรสชาติอร่อย นิ่ม หุงขึ้นหม้อ และมีกลิ่นหอมเล็กน้อย

54. อีด่าง

เป็นข้าวเหนียว นาปี อายุปานกลาง เหมาะสำหรับพื้นที่ดอน ทุ่งราบปานกลาง ต้นข้าวสูง 160 เซนติเมตร กอตั้ง ใบสีเขียวเข้ม ขอบใบม่วง ใบธงเป็นแนวนอน รวงยาว จับถี่ซ้อนกัน เก็บเกี่ยวต้นเดือนพฤศจิกายน เมล็ดใหญ่ยาว เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางปนดำ ไม่มีหาง ข้าวสารสีขาวขุ่น เมื่อนำไปหุง รสชาติอร่อย นิ่ม ไม่มีกลิ่นหอม

55. หวิดหนี้

เป็น ข้าวพันธุ์พื้นเมืองภาคอีสาน มีเรื่องเล่าว่า ผู้เฒ่าคนหนึ่งได้นำพันธุ์ข้าวเหนียวอายุสั้นมาปลูกและเก็บเกี่ยวได้เร็วทัน ข้าวรุ่นเก่าที่หมดพอดี จึงนำไปขายใช้หนี้ได้ทันกำหนด เลยเรียกพันธุ์นี้ว่า ข้าวหวิดหนี้

เป็นข้าวเหนียว นาปี อายุเบา เหมาะสำหรับพื้นที่ดอนโคก พื้นที่น้ำน้อย ต้นข้าวสูง 150 เซนติเมตร กอตั้ง ใบสีเขียวจาง ใบธงตั้งตรง แตกกอดี รวงยาวปานกลาง จับห่าง เก็บเกี่ยวกลางเดือนตุลาคม เมล็ดใหญ่ป้อม เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางขีดน้ำตาลไม่มีหาง ข้าวสารสีขาวขุ่น ช่วงข้าวใหม่เดือนมกราคม-เมษายน เมื่อนำไปหุง ข้าวอ่อนนิ่ม มีกลิ่นหอม

56. เศรษฐี

เป็น ข้าวเหนียว อยู่ในกลุ่มข้าวกลาง เหมาะสำหรับพื้นที่ทุ่ง อายุเก็บเกี่ยว 120-125 วัน ลำต้นแข็งแรง ทนทานต่อโรคสูง รสชาติปานกลาง กลิ่นไม่หอม อ่อนนิ่ม นิยมทำข้าวเม่า สาโท ข้าวโป่ง ข้าวต้มมัด ข้าวหลาม ขนมข้าวพอง ข้าวกระยาสารท

57. ใบสี

เป็นข้าวเจ้า นาสวน ต้นข้าวสูงมาก กอตั้ง แตกกอปานกลาง ใบสีเขียว มีขนบนแผ่นใบ เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง เมื่อหุงแล้ว ข้าวสุกร่วน

58. พวงเงิน

เป็น ข้าวเจ้า อยู่ในกลุ่มข้าวขึ้นน้ำ ต้นข้าวสูงมาก กอตั้ง แตกกอปานกลาง ใบสีเขียว มีขนบนแผ่นใบบ้าง ออกดอกเดือนพฤศจิกายน เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง หุงแล้ว ข้าวสุกแข็งร่วน

59. กันตัง

เป็นข้าวเจ้า นาสวน ต้นสูง กอแบะ แตกกอปานกลาง ใบสีเขียว มีขนบนแผ่นใบ เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ข้าวสุกแข็งร่วน

60. มันเป็ด

ข้าว เหนียวมันเป็ด มีลักษณะเด่นคือ รวงดี เมล็ดถี่ อยู่ในกลุ่มข้าวกลาง เหมาะสมกับพื้นที่ทุ่ง อายุเก็บเกี่ยว 120-140 วัน ลำต้นสูง 130-140 เซนติเมตร กอตั้งตรง แตกกอ ทนทานต่อโรค ผลผลิตต่อไร่ปานกลาง เมื่อหุงสุก ข้าวมีรสชาติดี กลิ่นหอม อ่อนนิ่ม นิยมทำข้าวเม่า สาโท ข้าวโป่ง ข้าวต้มมัด ข้าวหลาม ขนมข้าวพอง ข้าวกระยาสารท

61. บักม่วย

เป็น ข้าวเหนียว ในกลุ่มข้าวไวต่อช่วงแสง ต้นสูง 125 เซนติเมตร ออกดอก ประมาณ วันที่ 9 พฤศจิกายน ทรงกอแบะ คอรวงยาว รวงแน่น ลำต้นค่อนข้างแข็ง เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ก้นจุด ข้าวหุงสุกนุ่มเหนียว

62. เหลืองควายล้า

เป็นข้าวเจ้า นาสวน ต้นข้าวสูงมาก กอตั้ง แตกกอปานกลาง ใบสีเขียว มีขนบนแผ่นใบ เมล็ดข้าวเปลือกสีน้ำตาล วันออกดอกปลายเดือนพฤศจิกายน

63. เหลืองทุเรียน

เป็น ข้าวเจ้า นาสวน ต้นข้าวสูงมาก กอตั้ง แตกกอปานกลาง ใบสีเขียวเข้ม มีขนบนแผ่นใบ เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง วันออกดอกปลายเดือนตุลาคม หุงแล้วข้าวสุกร่วน

64. แดง

เป็นข้าวเหนียว ไวต่อช่วงแสง เมื่อโตเต็มที่จะสูงประมาณ 153 เซนติเมตร วันออกดอกอยู่ประมาณ วันที่ 9 ตุลาคม ทรงกอแบะ แผ่นใบสีเขียวมีขน ปล้องมีสีเหลืองอ่อน คอรวงยาว รวงแน่น ระแง้ถี่ ยอดเกสรตัวเมียมีสีขาว ยอดดอกสีแดง ลำต้นค่อนข้างแข็งแรง ข้าวเปลือก 100 เมล็ด หนัก 3.26 กรัม

คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและเคมี

– เมล็ดข้าวเปลือกเป็นสีน้ำตาล มีความยาวเมล็ดประมาณ 9.12 มิลลิเมตร กว้าง 3.57 มิลลิเมตร หนา 2.29 มิลลิเมตร

– เมล็ดข้าวกล้อง มีความยาว 6.29 มิลลิเมตร กว้าง 2.76 มิลลิเมตร หนา 2.00 มิลลิเมตร เมื่อหุงเป็นข้าวสุกจะนุ่มเหนียว

แหล่งเก็บรวบรวมพันธุ์ อยู่ที่ กิ่งอำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน

65. ไข่มดริ้น

เป็น ข้าวเจ้า ไวต่อช่วงแสง โตเต็มที่ต้นสูงประมาณ 130 เซนติเมตร วันออกดอก ประมาณ วันที่ 12 มกราคม ลักษณะทรงกอตั้ง แผ่นใบเป็นสีเขียวมีขนบ้าง ปล้องมีสีเหลืองอ่อน คอรวงยาว ระแง้ถี่ ยอดเกสรตัวเมียมีสีขาว ยอดดอกเป็นสีเขียวอ่อน ข้าวเปลือก 100 เมล็ด หนัก 3.60 กรัม

คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและเคมี

– เมล็ดข้าวเปลือกมีสีน้ำตาล มีความยาวเมล็ดประมาณ 9.01 มิลลิเมตร กว้าง 2.54 มิลลิเมตร หนา 1.93 มิลลิเมตร

– เมล็ดข้าวกล้อง มีความยาว 6.72 มิลลิเมตร กว้าง 2.24 มิลลิเมตร หนา 1.64 มิลลิเมตร ท้องไข่น้อย มีปริมาณอะมิโลส 21.77 เปอร์เซ็นต์

แหล่งเก็บรวบรวมพันธุ์ อยู่ที่ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง

66. เก้าแปด

เป็นข้าวเหนียว ลักษณะทรงกอแบะ เมล็ดข้าวเปลือกสีเหลือง โตเต็มที่ความสูงประมาณ 96.2 เซนติเมตร วันออกดอกประมาณเดือนตุลาคมของทุกปี

ข้าวเปลือกมีความยาว 10.25 มิลลิเมตร กว้าง 3.51 มิลลิเมตร จุดเด่นของข้าว รวงใหญ่ รับประทานดี

แหล่งรวบรวมพันธุ์ อยู่ที่ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น

67. อีมุม

เป็นข้าวเหนียว ลักษณะทรงกอตั้ง เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางร่องดำ โตเต็มที่ความสูงประมาณ 177.8 เซนติเมตร วันออกดอกประมาณเดือนตุลาคม

แหล่งรวบรวมพันธุ์ อยู่ที่ อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร

68. ดอเปียง

เป็นข้าวเหนียว ลักษณะทรงกอแบะ เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางกระน้ำตาล โตเต็มที่ความสูงประมาณ 145.8 เซนติเมตร วันออกดอกประมาณเดือนตุลาคม

จุดเด่น เมล็ดสั้นป้อม ต้านทานโรคและแมลงปานกลาง

แหล่งรวบรวมพันธุ์ อยู่ที่อำเภอลอง จังหวัดแพร่

69. ลูกดำ

เป็นข้าวเจ้า ลักษณะทรงกอตั้ง เมล็ดข้าวเปลือกสีน้ำตาล โตเต็มที่ความสูงประมาณ 133.6 เซนติเมตร วันออกดอกประมาณเดือนมกราคม

จุดเด่น ให้ผลผลิตค่อนข้างดี สามารถต้านทานโรคและแมลงได้ดี คุณภาพในการหุงต้มดี

แหล่งรวบรวมพันธุ์ อยู่ที่ อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดพระนครศรีธรรมราช

70. ช่อกระดังงา

เป็นข้าวเจ้า ลักษณะทรงกอตั้ง เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางกระดำ โตเต็มที่ความสูงประมาณ 137.8 เซนติเมตร วันออกดอกประมาณเดือนมกราคม

แหล่งรวบรวมพันธุ์ อยู่ที่ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดอุดรธานี

71. หางนาค

เป็นข้าวเหนียว ลักษณะทรงกอตั้ง เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางกระน้ำตาล โตเต็มที่ความสูงประมาณ 163 เซนติเมตร วันออกดอกประมาณเดือนตุลาคม

จุดเด่น เป็นข้าวที่หุงต้มดี

แหล่งรวบรวมพันธุ์ อยู่ที่ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี

72. ต้นแข็ง

เป็นข้าวเหนียว ลักษณะทรงกอแบะ เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางกระน้ำตาล โตเต็มที่ความสูงประมาณ 159.6 เซนติเมตร วันออกดอกประมาณเดือนตุลาคม

แหล่งรวบรวมพันธุ์ อยู่ที่อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่

73. เล็บช้าง

เป็นข้าวเหนียว ลักษณะทรงกอแบะ เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางกระน้ำตาล โตเต็มที่ความสูงประมาณ 147 เซนติเมตร วันออกดอกประมาณเดือนตุลาคม

แหล่งรวบรวมพันธุ์ อยู่ที่ อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่

74. ลายแดง

เป็นข้าวเจ้า ลักษณะทรงกอตั้ง เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางขีดน้ำตาล โตเต็มที่ความสูงประมาณ 135 เซนติเมตร วันออกดอกประมาณเดือนกันยายน

จุดเด่น สีเปลือกแดง คุณภาพข้าวดี

แหล่งรวบรวมพันธุ์ อยู่ที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

75. พานทอง

เป็นข้าวเจ้า ลักษณะกอแบะ เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง โตเต็มที่ความสูงประมาณ 175 เซนติเมตร วันออกดอกประมาณเดือนธันวาคม

เมล็ดข้าวเปลือก ความยาวประมาณ 9.98 มิลลิเมตร กว้าง 2.5 มิลลิเมตร

แหล่งรวบรวมพันธุ์ อยู่ที่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

76. ขาวราชินี

เป็นข้าวเจ้า ลักษณะกอแผ่ เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง โตเต็มที่ความสูงประมาณ 225 เซนติเมตร วันออกดอกประมาณเดือนธันวาคม

เมล็ดข้าวเปลือก ความยาวประมาณ 11.1 มิลลิเมตร กว้าง 2.8 มิลลิเมตร

แหล่งรวบรวมพันธุ์ อยู่ที่ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

77. เหลืองกรุงเทพ

เป็นข้าวเจ้า ลักษณะกอตั้ง เมล็ดข้าวเปลือกสีเหลือง โตเต็มที่ความสูงประมาณ 179 เซนติเมตร วันออกดอกประมาณเดือนตุลาคม

เมล็ดข้าวเปลือก ความยาวประมาณ 10.1 มิลลิเมตร กว้าง 2.8 มิลลิเมตร

แหล่งรวบรวมพันธุ์ อยู่ที่ อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก

78. ลำยอง

เป็นข้าวเจ้า ลักษณะกอตั้ง เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง โตเต็มที่ความสูงประมาณ 115 เซนติเมตร วันออกดอกประมาณเดือนกันยายน

เมล็ดข้าวเปลือก ความยาวประมาณ 10.8 มิลลิเมตร กว้าง 2.5 มิลลิเมตร

แหล่งรวบรวมพันธุ์ อยู่ที่ อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก

79. เหรียญทอง

เป็นข้าวเหนียว ลักษณะกอแบะ เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางกระน้ำตาล โตเต็มที่ความสูงประมาณ 182 เซนติเมตร วันออกดอกประมาณเดือนตุลาคม

เมล็ดข้าวเปลือก ความยาวประมาณ 3.7 มิลลิเมตร กว้าง 3.65 มิลลิเมตร

แหล่งรวบรวมพันธุ์ อยู่ที่ อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก

80. ดอกมะเขือ

เป็นข้าวเหนียว ลักษณะกอตั้ง เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง โตเต็มที่ความสูงประมาณ 131 เซนติเมตร วันออกดอกประมาณเดือนตุลาคม

เมล็ดข้าวเปลือก : ความยาวประมาณ 9.77 มิลลิเมตร กว้าง 3.41 มิลลิเมตร

แหล่งรวบรวมพันธุ์ : อยู่ที่ อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่

81. ทองใบสี

เป็นข้าวเจ้า ลักษณะกอตั้ง เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง โตเต็มที่ความสูงประมาณ 164 เซนติเมตร วันออกดอกประมาณเดือนพฤศจิกายน

เมล็ดข้าวเปลือก ความยาวประมาณ 11.5 มิลลิเมตร กว้าง 2.59 มิลลิเมตร

แหล่งรวบรวมพันธุ์ อยู่ที่ อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร

82. สามสี

เป็นข้าวเหนียว ลักษณะกอแบะ เมล็ดข้าวเปลือกสีน้ำตาล โตเต็มที่ความสูงประมาณ 149 เซนติเมตร วันออกดอกประมาณเดือนตุลาคม

เมล็ดข้าวเปลือก ความยาวประมาณ 9.91 มิลลิเมตร กว้าง 3.06 มิลลิเมตร

แหล่งรวบรวมพันธุ์ อยู่ที่ อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง

83. โพธิ์เงิน

เป็นข้าวเจ้า ลักษณะกอแบะ เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง โตเต็มที่ความสูงประมาณ 160 เซนติเมตร วันออกดอกประมาณเดือนธันวาคม

เมล็ดข้าวเปลือก ความยาวประมาณ 10.6 มิลลิเมตร กว้าง 2.7 มิลลิเมตร

แหล่งรวบรวมพันธุ์ อยู่ที่ อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง

84. ศรีสงคราม

เป็นข้าวเจ้า ลักษณะกอตั้ง เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง โตเต็มที่ความสูงประมาณ 152 เซนติเมตร วันออกดอกประมาณเดือนพฤศจิกายน

เมล็ดข้าวเปลือก ความยาวประมาณ 10.4 มิลลิเมตร กว้าง 2.57 มิลลิเมตร

แหล่งรวบรวมพันธุ์ อยู่ที่ อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี

85. พม่าแหกคุก

เป็นข้าวเจ้า ลักษณะกอตั้ง เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง โตเต็มที่ความสูงประมาณ 208 เซนติเมตร วันออกดอกประมาณเดือนพฤศจิกายน

เมล็ดข้าวเปลือก ความยาวประมาณ 9.82 มิลลิเมตร กว้าง 2.93 มิลลิเมตร

แหล่งรวบรวมพันธุ์ อยู่ที่ อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Ref : http://info.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=05036150256&srcday=&search=no